การประชุมวิชาการ
โครงการจัดการหลักสูตร Non Degree ภายใต้เรื่อง การฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาโรคติดเชื้อและยาต้านจุลชีพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (รอบที่ 3)
ชื่อการประชุม โครงการจัดการหลักสูตร Non Degree ภายใต้เรื่อง การฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาโรคติดเชื้อและยาต้านจุลชีพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (รอบที่ 3)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รหัสกิจกรรม 1010-2-000-023-01-2566
สถานที่จัดการประชุม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
วันที่จัดการประชุม 01 ก.พ. 2566 - 31 พ.ค. 2566
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรที่สนใจ 6 คนต่อปี
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 30 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การดื้อยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial resistance : AMR) เป็นวิกฤติการณ์ทุกประเทศทั่วโลก
ในขณะที่เชื้อดื้อยากำลังเพิ่มขึ้น แต่ยาต้านจุลชีพชนิดใหม่พัฒนาไม่ทันกับการดื้อยาต้านจุลชีพ สำหรับประเทศไทยพบว่า มีคณะกรรมการประสานและบูรณาการงานด้านการดื้อนยาต้านจุลชีพ ได้มีการจัดทำ
แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ฉบับแรก
ของประเทศไทยที่เน้นการแก้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพทั้งในมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ในแนวคิดเรื่องสุขภาพหนึ่งเดียว(One Health) เภสัชกรเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญในการใช้ยา โดยเฉพาะในการใช้ยาต้านจุลชีพ เนื่องจากเภสัชกรมีองค์ความรู้ตั้งแต่กระบวนการค้นคว้าพัฒนายา จัดหายา ผลิตยา และนอกจากนี้ในการใช้ยา เภสัชกรมีหน้าที่ในการสืบค้น และวางแผนการแก้ไข ติดตาม และป้องกันปัญหา ที่เกี่ยวกับการใช้ยาเพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างเหมาะสมทุกด้าน รวมทั้งข้อบ่งใช้ ประสิทธิภาพ
อาการไม่พึงประสงค์ ความสะดวกของผู้ป่วยในการใช้ยาเพื่อให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามสั่งได้โดยง่าย เพื่อประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยาและมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพิ่มคุณภาพและยกระดับมาตรฐานการให้บริการเภสัชกรรม
ทำให้ประชาชนใช้ยาได้อย่างปลอดภัยและถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้ยังส่งเสริม สนับสนุนในการให้ข้อมูลและการให้คำปรึกษาเรื่องการใช้ยาที่ถูกต้องเหมาะสม และปลอดภัย แก่ผู้ป่วยและสหสาขาวิชาชีพ
ด้วยความตระหนักในความสำคัญของบทบาทเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการใช้ยา
ต้านจุลชีพในผู้ป่วยดังกล่าว คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ได้เล็งเห็นความสำคัญของเภสัชกรที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วย
โรคติดเชื้อและการใช้ยาต้านจุลชีพ จึงได้ร่วมมือจัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม
(สาขาโรคติดเชื้อและยาต้านจุลชีพ) หลักสูตรระยะสั้นเป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์ ภายใต้การรับรอง
ของวิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย ที่ 4/2565 เรื่อง รับรองหลักสูตรระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม
ลงวันที่ 28 มกราคม 2565 โดยมีเนื้อหาทางทฤษฎีสอดแทรกตลอดระยะของการฝึกปฏิบัติงาน
คณะเภสัชศาสตร์ โดยความอนุเคราะห์ของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ได้กำหนดให้เภสัชกรฝึกปฏิบัติงาน ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรมและหอผู้ป่วยทีเกี่ยวข้อง โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
เภสัชกรที่เข้ารับการฝึกจะได้มีโอกาสปฏิบัติงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพที่มีความชำนาญในการบริบาล
เภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการใช้ยาต้านจุลชีพ โดยหลักสูตรนี้มีนโยบายและยุทธศาสตร์สอดคล้อง
กับความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข

วัตถุประสงค์
1. เภสัชที่เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้และทักษะเฉพาะทางการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการใช้ยาต้านจุลชีพ
2. เภสัชที่เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้และทักษะการฝึกปฏิบัติวิชาชีพเภสัชกรรมด้านการบริบาล
ทางเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคติดเชื้อได้จริงเมื่อสำเร็จหลักสูตรการอบรม
3. เภสัชที่เข้ารับการฝึกอบรมสามารถสืบค้นข้อมูลของยาต้านจุลชีพและนำข้อมูลมาใช้ในการออกแบบและพัฒนาระบบการใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อให้เกิดระบบสนับสนุนการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผล (Antimicrobial Stewardship Program; ASP)
คำสำคัญ
Infectious Diseases and Antimicrobial Agents Pharmaceutical care