ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ก.ย. 5 พ.ย. และ 5 ธ.ค. 2567
การประชุมวิชาการ
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์
ชื่อการประชุม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รหัสกิจกรรม 1010-2-000-014-06-2566
สถานที่จัดการประชุม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ
วันที่จัดการประชุม 13 มิ.ย. 2566
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
กลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานคลินิกกัญชาทางการแพทย์ วิทยากร ผู้จัดการอบรมการพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการคลินิกกัญชา จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 90 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 6.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
กัญชา เดิมตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 เคยจัดให้กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 แต่ปัจจุบันได้มีการปลดล็อคกัญชา ให้หลุดพ้นจากการเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 และจัดให้ส่วนของ ช่อดอกกัญชา เป็นพืชสมุนไพรควบคุมตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องสมุนไพรควบคุม(กัญชา) พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

กัญชา เป็นพืชที่มีการนำมาใช้ในทางการแพทย์ เพื่อลดความวิตกกังวล ผ่อนคลาย ลดอาการปวด ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น ทำให้ปัจจุบัน มีการนำกัญชามาใช้ในการดูแลรักษา เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วย ระยะประคับประคอง (Palliative care) เพื่อใช้ในการลดอาการปวด ที่ไม่ตอบสนองต่อยามาตรฐาน, ช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการใช้ยาเคมีบำบัด , มีการนำมาใช้ในผู้ป่วยโรคลมชักที่รักษายาก หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษา รวมถึง ในส่วนของแพทย์แผนไทย ได้มีการนำกัญชามาใช้ในผู้ป่วย มะเร็ง ไมเกรน เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ปวดเรื้อรัง เป็นต้น

ในปี 2565 การดำเนินงานกัญชาทางการแพทย์ จังหวัดศรีสะเกษ มีสถานการณ์ด้านการใช้ยาที่มีส่วนผสมของกัญชา ในผู้ป่วยระยะประคับประคอง (Palliative care) จำนวนร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับผู้ป่วยระยะประคับประคอง (Palliative care) ทั้งหมด สถานการณ์ด้านการผลักดันการสั่งใช้ยาในผู้ป่วยทั้งหมดที่มีข้อบ่งใช้ เมื่อเทียบกับปี 2564 เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 99.72 และ สถานการณ์การเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ (ADR) จากกัญชาไม่ทราบแหล่งที่มา พบว่า อาการไม่พึงประสงค์ส่วนใหญ่ที่เกิด คือ อาการหน้ามืด วิงเวียน(dizziness) คลื่นไส้ อาเจียน(nausea/vomiting) ใจสั่น(palpitation) นอกจากนั้นยังพบผู้ป่วยจำนวนมากที่มีการใช้กัญชาในการรักษาโรค หรือบริโภคกัญชาโดยที่แพทย์ไม่ได้สั่งใช้ และผู้ป่วยยังมีความเข้าใจในการใช้กัญชาที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงยังขาดความรู้เรื่องข้อกฎหมายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องสมนุไพรควบคุม(กัญชา) พ.ศ. 2565

จากข้อมูลสถานการณ์การใช้กัญชาของผู้ป่วย และนโยบายกระทรวงสาธารณสุขในเรื่องการเพิ่มการเข้าถึงบริการกัญชาทางการแพทย์และเน้นให้ประชาชนปลอดภัยจากการใช้กัญชาทางการแพทย์ ดังนั้น จึงมุ่งเน้นที่จะพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ เพื่อเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นในการสั่งใช้ยากัญชา ผลักดันให้เกิดการศึกษาวิจัย พัฒนา ต่อยอดเพื่อก่อให้เกิด Health literacy จึงเป็นที่มาของการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ จังหวัดศรีสะเกษ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์
2. เพื่อส่งเสริมศักยภาพการทำงานวิจัยและการจัดการความรู้ด้านกัญชาทางการแพทย์
3. เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงกัญชาทางการแพทย์ได้อย่างปลอดภัย
คำสำคัญ