Practical issue in critical care in cardiogenic shock and sepsis shock patient.
ชื่อการประชุม |
 |
Practical issue in critical care in cardiogenic shock and sepsis shock patient. |
สถาบันหลัก |
 |
สมาคมเภสัชกรรมการตลาด (ประเทศไทย) |
รหัสกิจกรรม |
 |
2005-2-000-003-06-2566 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
Online |
วันที่จัดการประชุม |
 |
20 ก.ค. 2566 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
สมาคมเภสัชกรรมการตลาด (ประเทศไทย) |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
เภสัชกรโรงพยาบาล/พยาบาล ที่สนใจจำนวน 500-600 ท่าน |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
1.5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
ยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drug) หมายถึง กลุ่มยาที่อาจก่ออันตรายอย่างรุนแรงได้ถ้านําไปใช้ไม่ ถูกต้อง หรือเมื่อใช้ยาผิดพลาด ซึ่งอาจจะพบได่บ่อยหรือไม่ก็ได้ รวมถึงกลุ่มยาที่มีดัชนีการรักษาแคบ หากมีเหตุที่ทํา ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับยาในเลือด แม้จะใช้อย่างถูกต้อง ก็อาจนําไปสู่เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในระดับ รุนแรงต่อผู้ป่วยได้การพัฒนาระบบบริการสุขภาพโดยคํานึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย จัดเป็นประเด็นสําคัญพื้นฐานในการ เสริมสร้างระบบบริการที่มีคุณภาพ เป]นที่ไว้วางใจ ตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการด้าน สุขภาพ ซึ่งสถานพยาบาลควรมีการกําหนดเป้าหมายดําเนินการ การติดตามผลลัพธ์ และการนําผลมาทบทวน ปรับปรุงแนวทางการให้บริการอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์ เป้าหมายของหน่วยงานที่ให้การรับรองคุณภาพสถานพยาบาลทั้งในระดับสากล ได้แก่ International Patient Safety Goals โดย Joint Commission International (JCI) ซึ่งพัฒนามาจากเป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยนานาชาติของ The Joint Commission on Accreditation of Healthcare Organizations (JCAHO) และใน ระดับประเทศ โดยสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) เกณฑnคุณภาพทั้งสองนี้มีข้อกําหนดต่าง ๆ ซึ่ง คล้ายคลึงกัน โดยพิจารณาจากอุบัติการณ์หรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ด้านสุขภาพที่พบได้บ่อย และหนึ่งในจุดเน้น ของทั้ง 2 องค์กร คือ สถานพยาบาลต้องมีแนวทางตามบริบทในการเพิ่มความปลอดภัยสําหรับการใช้ยาที่มีความ เสี่ยงสูง หรือยาที่ต้องระมัดระวังสูง เพื่อลดอันตรายรุนแรงที่อาจเกิดแก่ผู้รับบริการด้านสุขภาพ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมทบทวนและเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับ ความปลอดภัยจากการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง โดยมีวัตถุประสงคnเพื่อลดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ และ ความคลาดเคลื่อนจากการใช้ยาที่ถูกระบุว่ามีความเสี่ยงสูง และอาจก่อให้เกิดอันตรายรุนแรงหากถึงตัวผู้ป่วย สอดคล้องกับเป้าหมายเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยที่ประกาศโดยองค์การอนามัยโลกในปี ค.ศ. 2017 ว่าเป็น “The Third Global Patient Safety Challenge: Medication Without Harm”
2.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการให้คำแนะนำที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยด้านการดูแล
สุขภาพเมื่อเป็นโรค sepsis shock และ Cardiogenic shockได้อย่างถูกต้อง
3.เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และประสบการณ์ระหว่างผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบวิชาชีพ
วิธีสมัครการประชุม
สมัครเข้าร่วมประชุมวิชาการคลิ๊ก https://bit.ly/3ppPPdj