บทบาทยาขยายหลอดลมชนิดรับประทานกับอาการไอ และ ยาทางเลือกใหม่กับโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
ชื่อการประชุม |
 |
บทบาทยาขยายหลอดลมชนิดรับประทานกับอาการไอ และ ยาทางเลือกใหม่กับโรคกระเพาะอาหารอักเสบ |
สถาบันหลัก |
 |
สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) |
รหัสกิจกรรม |
 |
2002-2-000-013-06-2566 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
zoom webinar |
วันที่จัดการประชุม |
 |
13 มิ.ย. 2566 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
สมาชิกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) และ เภสัชกรชุมชนที่สนใจ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
1.5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
อาการไอและโรคกระเพาะอาหารอักเสบเป็นกลุ่มคนไข้ที่พบได้บ่อยในผู้คนทุกเพศ ทุกวัย ในร้านขายยา ซึ่งในการประชุมนี้จะกล่าวถึง 2 กลุ่มโรคนี้ที่เภสัชกรมีโอกาสเจอคนไข้เป็นหลัก ถ้าหากกล่าวถึงอาการไอ ซึ่งบางอย่างเกิดจากสาเหตุของโรคทางเดินหายใจ ซึ่งมีอยู่มากมายหลายชนิด ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องไอ เรื่องโรคต่างๆด้านทางเดินหายใจ ที่เป็นสาเหตุ ตลอดจนถึงแนวทางการวินิจฉัยเบื้องต้น การเลือกใช้ยาชนิดต่างๆ ได้อย่างถูกต้องจึงมีความสำคัญต่อผู้ป่วย ซึ่งเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยในชิวิตประจำวัน และในช่วงหน้าฝน ก็เป็นฤดูกาลที่อุบัติการณ์ของโรคทางเดินหายใจสูงมากกว่าฤดูกาลอื่น เช่น โรคหวัด แพ้อากาศ โรคหอบหืดกำเริบ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญกับเภสัชกรที่อยู่ในร้านขายยา ในครั้งนี้มาทำความรู้จักและเข้าใจในเรื่องของยาขยายหลอดลมชนิดรับประทานว่ามีบทบาทอย่างไรในการรักษาอาการไอ จะได้สามารถให้คำแนะนำ และเลือกใช้ยาได้อย่างเหมาะสม
ในส่วนของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าโรคกระเพาะ เป็นโรคที่เกิดในระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อยในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมที่เร่งรีบของคนในยุคนี้ ทำให้มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง ถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ โดยพบว่าผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่มักมีอาการเป็นๆหายๆ มากถึง 80% แม้ว่าจะไม่ใช่โรคที่รุนแรง แต่หากปล่อยไว้เรื้อรังอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือมีเลือดไหลในทางเดินอาหาร จนเกิดภาวะแทรกซ้อน อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารอีกด้วย ซึ่งเภสัชกรในร้านยาและชุมชน มีส่วนสำคัญยิ่งในการดูแลคนไข้กลุ่มนี้ ซึ่งคนไข้มักมาพบเภสัชกรในร้านยา ก่อนไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล โดยเนื้อหาในการประชุมครั้งนี้ จะกล่าวถึงสาเหตุการเกิดโรค อาการ และแนวทางในการรักษาในร้านยา พร้อมทั้งบทบาทยากลุ่มใหม่ๆซึ่งเป็นทางเลือกให้กับคนไข้เหล่านี้ เพื่อให้เภสัชกรเลือกใช้ยาได้อย่างเหมาะสม
วัตถุประสงค์
1. รู้จักโรคของระบบทางเดินหายใจที่ก่อให้เกิดอาการไอแบบต่าง ๆ และการวินิจฉัยเบื้องต้น
2. ชนิดของยาที่นำมาใช้ในการรักษาอาการไอ ตลอดจนแนวทางการรักษาเบื้องต้น
3. เข้าใจบทบาทของยาขยายหลอดลมที่นำมาใช้ในการรักษาอาการไอ
4. รู้จักโรคกระเพาะอาหารอักเสบ สาเหตุ และความเสี่ยงที่จะให้ให้เกิดความรุนแรง
5. เข้าใจบทบาทยากลุ่มออกฤทธิ์ปกป้องทางเดินอาหาร ในการรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
คำสำคัญ
Cough, respiratory diseases, Chronic Cough Guideline,Gastritis, functional dyspepsia, chronic gastritis, Thai Dyspepsia Guideline
วิธีสมัครการประชุม
สมัครเข้าร่วมประชุมออนไลน์ คลิ๊ก https://zoom.us/webinar/register/WN_G7u_lX83TQSNtkj3-RehKg
สมัครสมาชิกสมาคมเภสัชกรรมชุมชนฯ ออนไลน์ คลิ๊ก www.pharcpa.com