การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2003-2-000-008-07-2566
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องประชุม ห้อง 206 อาคารเทพรัตน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วันที่จัดการประชุม 10 -21 ก.ค. 2566
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรโรงพยาบาล, เภสัชกรที่มีความสนใจ จำนวนไม่เกิน 50 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 49 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรคหัวใจและหลอดเลือดนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่มีความรุนแรงในอันดับต้นๆ ของประเทศ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) ทั้งยาวาร์ฟารินและยาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่มใหม่ (new oral anticoagulants, NOACs) เป็นยาที่มีความจำเป็นในการใช้ป้องกันและรักษาภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งมีแนวโน้มการใช้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยาต้านการแข็งตัวของเลือดโดยเฉพาะยาวาร์ฟารินเป็นยาที่มีความเสี่ยงค่อนข้างมาก ทั้งความเสี่ยงด้านโรค ความเสี่ยงด้านยา และความเสี่ยงด้านระบบบริการ ที่สามารถก่อให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์เล็กน้อย จนถึงรุนแรงและเสียชีวิตได้
โรงพยาบาลหลายแห่งในประเทศไทยได้ดำเนินการบริหารจัดการเพื่อป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวซึ่งส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยเภสัชกรของโรงพยาบาล และพบว่าการที่เภสัชกรมีส่วนร่วมในทีมรักษา และมีการบริหารจัดการเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดจากยาวาร์ฟาริน ทำให้ผลการใช้ยา warfarin เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในแง่ของการบรรลุค่า international normalized ratio (INR) เป้าหมาย และการลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากยา นอกจากนี้ เภสัชกรยังขยายขอบเขตการบริบาลทางเภสัชกรรมไปสู่ผู้ป่วยที่ได้รับยา NOACs ซึ่งมีสัดส่วนและจำนวนผู้ป่วยที่ใช้ยากลุ่มนี้มากขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย
เพื่อเป็นการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขของประเทศไทยตามนโยบายพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ภายใต้แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (service plan) ของกระทรวงสาธารณสุข จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มจำนวนเภสัชกรโรงพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญในการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดให้ครอบคลุมสถานพยาบาลทุกระดับทั่วประเทศและเน้นการดูแลผู้ป่วยในลักษณะของเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันตั้งแต่ระดับโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป จนถึงโรงพยาบาลศูนย์ที่มีความเชี่ยวชาญระดับสูงด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจเกิดขึ้นได้อย่างไร้รอยต่อ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของเภสัชกรโรงพยาบาลในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด และรองรับแผนการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพ (service plan) สาขาโรคหัวใจ
2. เพื่อขยายบทบาทของเภสัชกรโรงพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดให้กระจายตัวออกไปสู่โรงพยาบาลอื่นๆ ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ และโรงพยาบาลในเครือข่ายบริการ
3. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดได้ประโยชน์จากยาสูงสุดและเกิดผลข้างเคียงจากยาน้อยที่สุด
คำสำคัญ
Warfarin. HATHAI, Shortcourse Warfarin
วิธีสมัครการประชุม
ลงทะเบียนได้ที่ www.thaihp.org