ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ก.ย. 5 พ.ย. และ 5 ธ.ค. 2567
การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์สำหรับเภสัชกร ประจำปีงบประมาณ 2566 เรื่อง Enhancing Physical & Mental Wellbeing
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์สำหรับเภสัชกร ประจำปีงบประมาณ 2566 เรื่อง Enhancing Physical & Mental Wellbeing
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-016-05-2566
สถานที่จัดการประชุม
วันที่จัดการประชุม 26 พ.ค. 2566
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
เภสัชกรเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด มีบทบาทสำคัญต่อการให้คำปรึกษาแก่ประชาชนในด้านสุขภาพ การใช้ยา รวมถึงการใช้โภชนเภสัชภัณฑ์หรือ complimentary medicine อย่างถูกต้องและเหมาะสม ในขณะที่ประชาชนมีความสนใจในเรื่องของโภชนเภสัชภัณฑ์ และมีการเสาะหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ประกอบกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีความหลากหลายและมีส่วนประกอบใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น เภสัชกรจึงควรมีการปรับปรุงความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวให้ทันสมัย โดยมีข้อมูลอ้างอิงจากหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based) เพื่อสามารถให้ความรู้หรือแนะนำประชาชนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยการประชุมวิชาการในครั้งนี้ได้เน้นถึงโภชนาการเพื่อการควบคุมน้ำหนักตัว และ ระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อเพิ่มความเข้าใจในวิธีการลดน้ำหนักอย่างถูกต้อง รวมถึงการลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน และโภชนาการเพื่อการมีสุขภาพของระบบหัวใจและหลอดเลือด และสุขภาพของกระดูกที่ดี นอกจากนี้การรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของจุลินทรีย์ในกลุ่มโพรไบโอติก จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย และบำรุงทางเดินอาหารรวมถึงมีผลต่อสุขภาพที่ดีของสมองได้ ซึ่งการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีส่วนประกอบจากธรรมชาติ และมีฤทธิ์บำบัดต่าง ๆ เป็นวิธีหนึ่งในการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุ และช่วยในด้านการการชะลอวัยได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เภสัชกรและบุคคลทั่วไปมีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการ และ complementary medicine สามารถนำความรู้ไปใช้ในการบริบาลทางเภสัชกรรมได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
2. เพื่อให้เภสัชกรและบุคคลทั่วไปทราบถึงแนวโน้มการดูแลสุขภาพ และสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับโภชนาการ รวมถึงบทบาทของ complementary medicine ในภาวะต่าง ๆ เช่น การควบคุมน้ำหนักและน้ำตาลในเลือด สุขภาพกระดูก สุขภาพระบบทางเดินอาหาร สุขภาพสมอง การดูแลสุขภาพทั่วไปเพื่อชะลอวัย เป็นต้น รวมถึงการใช้ complementary medicines ร่วมกับยาได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย
3. เพื่อให้เภสัชกรและบุคคลทั่วไปเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย ระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในแนวทางการรักษาผู้ป่วย
คำสำคัญ