ประชุมเชิงปฏิบัติการเภสัชกรรมคลินิก ครั้งที่ 39 ปีงบประมาณ 2566 เรื่อง เภสัชเศรษฐศาสตร์ของมาตรการด้านสุขภาพ (Pharmacoeconomics for Healthcare Intervention)
ชื่อการประชุม |
|
ประชุมเชิงปฏิบัติการเภสัชกรรมคลินิก ครั้งที่ 39 ปีงบประมาณ 2566 เรื่อง เภสัชเศรษฐศาสตร์ของมาตรการด้านสุขภาพ (Pharmacoeconomics for Healthcare Intervention) |
สถาบันหลัก |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
รหัสกิจกรรม |
|
1003-2-000-011-05-2566 |
สถานที่จัดการประชุม |
|
โรงแรมเอ็มเพรส พรีเมียร์ เชียงใหม่ |
วันที่จัดการประชุม |
|
29 -31 พ.ค. 2566 |
ผู้จัดการประชุม |
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
กลุ่มเป้าหมาย |
|
เภสัชกรโรงพยาบาล หรือสถานบริการสาธารณสุขจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน และนักศึกษาบัณฑิตศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ 4 มหาวิทยาลัย จำนวนประมาณ 60 คน |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
|
16 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) ตามนโยบายรัฐบาลที่จะนำประเทศไทยก้าวสู่ Thailand 4.0 รวมทั้งการเข้าสู่การเชื่อมต่อการค้าและการลงทุนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงระบบสุขภาพ ซึ่งกำหนดเป้าหมาย คือ ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน ภายใต้การพัฒนาความเป็นเลิศใน 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1. ด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ (PP&P Excellence) 2. บริการเป็นเลิศ (Service Excellence) 3. บุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence) และ 4. บริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล (Governance Excellence) จะเห็นว่ายุทธศาสตร์ด้านสุขภาพโดยเน้นคุณค่า (value-based healthcare) เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการด้านสุขภาพ (healthcare intervention) ใหม่ ๆ ที่ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิผลและความปลอดภัยในการรักษาดีกว่ามาตรการเดิม แต่กลับมีผลให้ต้นทุนการรักษามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน หากระบบสุขภาพมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ต้นทุนทั้งระบบควรจะลดลง ดังนั้น คุณค่า (value) ที่แท้จริงในการดูแลสุขภาพก็คือ การมีผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีและมีต้นทุนทั้งระบบต่ำ
การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (health technology assessment) จัดเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการประเมินและตัดสินใจเลือกมาตรการด้านสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ความจำกัดของงบประมาณทุกภาคส่วนในการนำเครื่องมือนี้มาใช้ ผู้สนใจจำเป็นต้องมีองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็น จึงจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการตัดสินใจและคัดเลือกมาตรการด้านสุขภาพในหน่วยงานที่รับผิดชอบได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
พันธกิจที่สำคัญประการหนึ่งของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมและเพิ่มพูนองค์ความรู้ด้านวิชาการให้กับผู้สนใจ หรือเภสัชกรในการปฏิบัติหน้าที่ดูแลสุขภาพแก่ประชาชนได้อย่างถูกต้องและคุ้มค่า โดยอาศัยหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์ที่เชื่อมโยงไปถึงด้านเศรษฐศาสตร์ในการดูแลสุขภาพ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านวิชาการของการประเมินความคุ้มค่าของมาตรการด้านสุขภาพ (Pharmacoeconomics for Healthcare Intervention)
คำสำคัญ
ความคุ้มค่าของมาตรการด้านสุขภาพ
วิธีสมัครการประชุม
ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียนได้ที่ https://cpe.pharmacy.cmu.ac.th/conference.php