การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการ การขึ้นทะเบียนตำรับยา ครั้งที่ 10 Important Regulation & Quality aspects of Pharmaceutical and Health Product
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ การขึ้นทะเบียนตำรับยา ครั้งที่ 10 Important Regulation & Quality aspects of Pharmaceutical and Health Product
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-2-000-016-06-2566
สถานที่จัดการประชุม ณ โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน กรุงเทพฯ
วันที่จัดการประชุม 15 -16 มิ.ย. 2566
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล และบุคลากรที่สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 10.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ใช้ภายในประเทศจะต้องมีคุณภาพ ประสิทธิผล และความปลอดภัยสูงสุด การใช้ยาและผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจำเป็นจะต้องมีการขึ้นทะเบียน ข้อมูลที่ปรากฏในทะเบียนจัดเป็นข้อมูลที่สำคัญที่สะท้อนถึงกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพที่ประกอบด้วย การจัดการวัตถุดิบที่ดี กระบวนการผลิตที่มีการควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอน และการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุดท้ายให้เป็นไปตามมาตรฐานก่อนส่งมอบให้ผู้บริโภค การจัดเตรียมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นให้ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์เป็นไปตามข้อกำหนดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้นได้รับพิจารณาอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ให้ผลิต ซื้อขาย หรือจัดจำหน่ายในประเทศได้ ส่งผลให้ประชาชนได้ใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีมาตรฐานสามารถใช้รักษาและป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งใช้เสริมสร้างสุขภาพให้ดียิ่งขึ้นเช่นกัน
นอกเหนือจากยาที่เป็นกลุ่มสารเคมีและกลุ่มชีววัตถุแล้ว ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องมีการขึ้นทะเบียน ได้แก่ อาหารและอาหารเสริม (Food and dietary supplements) สมุนไพร (Herbal drugs) เครื่องสำอาง (Cosmetics & herbal cosmetical) และเครื่องมือแพทย์ (Medical devices) ข้อมูลด้านคุณภาพในเอกสารประกอบการขอขึ้นทะเบียนเป็นส่วนที่มีความสำคัญที่สะท้อนความมีคุณภาพของยาและผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ข้อมูลเหล่านั้นจะแตกต่างกันไปตามชนิดของผลิตภัณฑ์ เช่น ข้อมูลการพิสูจน์เอกลักษณ์ของตัวยาหรือสารสำคัญ ข้อมูลการตรวจสอบสารเจือปนธาตุและสารเจือปนอื่น ๆ ข้อมูลการหาปริมาณตัวยาหรือสารสำคัญในสูตรตำรับที่ตรวจวิเคราะห์โดยวิธีมาตรฐานที่ปรากฏตามแนวทางปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ในกรณีที่วิธีวิเคราะห์ที่ใช้ ไม่ได้อยู่ในแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน จำเป็นต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ ซึ่งต้องแสดงผลข้อมูลการปฏิบัติการทดสอบเช่นกัน ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้จัดการประชุมวิชาการ การขึ้นทะเบียนตำรับยา ครั้งที่ 10 ภายใต้หัวข้อ “Important Regulation & Quality aspects of Pharmaceutical and Health Product” เพื่อให้เภสัชกร ผู้สนใจหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสเรียนรู้ทักษะที่ใช้ในการขึ้นทะเบียน (Reskilling) หรือผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนได้ยกระดับทักษะ (Upskilling) ให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเนื้อหาของงานประชุมประกอบด้วยหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สุขภาพชนิดต่าง ๆ ได้แก่ อาหารและอาหารเสริม (Food and dietary supplements) สมุนไพร (Herbal drugs) เครื่องสำอาง (Cosmetics & herbal cosmetical) และเครื่องมือแพทย์ (Medical devices) รวมทั้งหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนตำรับยาทั้งที่เป็นสารเคมีและที่เป็นชีววัตถุ สำหรับตัวยาที่เป็นสารเคมีจะมีการลงรายละเอียดในด้านการกำหนด specification การจัดทำข้อมูล method validation ตาม ICH Q2 (R2) การจัดทำข้อมูล stability study และ impurity
การจัดประชุมวิชาการประจำปีโดยภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งนี้ นอกจากเป็นการบริการวิชาการเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เรียนรู้ทักษะด้านการขึ้นทะเบียนหรือยกระดับทักษะผู้ที่ทำงานด้านการขึ้นทะเบียนแล้ว ยังมีความสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ซึ่งหนึ่งในโครงการย่อยที่ทางมหาวิทยาลัยมหิดลได้รับมอบหมายให้ดำเนินการคือการยกระดับทักษะอุตสาหกรรมยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างและเพิ่มพูนทักษะในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา สมุนไพร โภชนเภสัช และเครื่องสำอางให้กับบุคคลภายในคณะ มหาวิทยาลัย ผู้ประกอบการภาครัฐและเอกชน บุคลากรสาขาเภสัชศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์
1. รับทราบและเข้าใจหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพชนิดต่าง ๆ
2. มีความรู้ความเข้าใจในการกำหนด specification การจัดทำข้อมูล method validation ตาม ICH Q2 (R2) การจัดทำข้อมูล stability study และ impurity
ของยาที่เป็นสารเคมี
3. สามารถประยุกต์ความรู้ที่ได้รับเพื่อยกระดับทักษะการขึ้นทะเบียนยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ค่าลงทะเบียน ค่าลงทะเบียน คนละ 5,000 บาท กำหนดลงทะเบียนและชำระเงินภายในวันที่ 9 มิถุนายน 2566 การสมัครและชำระค่าลงทะเบียน โปรดกรอกใบสมัคร online ทาง www.pharmacy.mahidol.ac.th/conference พร้อมชำระเงิน โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี บัญชีประเภทออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 026-443603-5 ชื่อบัญชี การประชุมวิชาการคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมแนบไฟล์หลักฐานการโอนเงินชำระค่าลงทะเบียนลงในระบบลงทะเบียนเพื่อการตรวจสอบ โดยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน่วยจัดกิจกรรมวิชาการ โทรศัพท์มือถือ 087-5597393 E-mail: supattra.kon@mahidol.ac.th หรือ ภาควิชาเภสัชเคมี โทรศัพท์ 0-26448695 E-mail : headpypc@mahidol.ac.th