การประชุมวิชาการ
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Current Trends in Sunscreen: Product Selection and Formulation Design
ชื่อการประชุม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Current Trends in Sunscreen: Product Selection and Formulation Design
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-010-06-2566
สถานที่จัดการประชุม
วันที่จัดการประชุม 16 มิ.ย. 2566
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย 4.1 เภสัชกรภาคอุตสาหกรรม และบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาสูตรตำรับเครื่องสำอาง 4.2 เภสัชกรและนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3.75 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ผลิตภัณฑ์กันแดด (sunscreen products) นับเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ทางเครื่องสำอางที่มีการใช้ในชีวิตประจำวัน โดยผลิตภัณฑ์ควรที่จะป้องกันผิวจากแสงแดดที่มีผลต่อสภาพผิว ทั้งก่อให้เกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ ริ้วรอยต่างๆ รวมทั้งการระคายเคือง การหลุดลอกของผิวจากการไหม้แดด อาจร้ายแรงจนนำไปสู่การเกิดมะเร็งที่ผิวหนัง ควรหลีกเลี่ยงการอออกแดดจัดเป็นเวลานาน ผลิตภัณฑ์กันแดดจึงมีความจำเป็นเมื่อเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการออกแดด ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกัน ซื่อสามารถปกป้องผิวหนังได้ในระดับหนึ่ง นอกจากสารสำคัญในผลิตภัณฑ์กันแดดจะช่วยในการป้องกันแสงยูวีที่อยู่ในแสงแดดอันมีผลให้ผิวหนังเกิดการหมองคล้ำจุดด่างดำ และการอักเสบ ส่วนประกอบอื่นๆที่ผสมในผลิตภัณฑ์ยังมีผลในการดูแลและให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศในแขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตรระยะเวลาที่มีแสงแดดระหว่างวันจะมีเวลายาวนานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าร้อน ดังนั้นตลาดเครื่องสำอางสำหรับผลิตภัณฑ์กันแดดในประเทศไทยจึงมีขนาดใหญ่ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้มีอยู่หลายรูปแบบ เช่น ครีม โลชัน เจล และ สารละลาย สารสำคัญที่มีผลในการป้องกันผิวหนังจากแสงแดด มีทั้งที่ออกฤทธิ์แบบ physical sunscreen เช่น titanium dioxide, zinc oxide และ แบบ chemical sunscreen เช่น octyl methoxycinnamate, oxybenzone เป็นต้น ประสิทธิภาพในการกันแดดของสาร 2 กลุ่มนี้ไม่เท่ากัน แม้แต่สารในกลุ่มเดียวกันประสิทธิภาพก็ต่างกันด้วย ในกลุ่มแรกความสามารถในการกันแดดมีกลไกหลักในการป้องกันอันเกิดจากการสะท้อนแสงที่ตกกระทบออกจากผิวก่อนที่รังสีจะแทรกตัวเข้าผิว ส่วนกลุ่มหลังสารสำคัญสามารถดูดซับแสงไว้ก่อนที่แสงจะมีผลต่อผิวหนัง ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์กันแดดจึงเป็นปัจจัยหนึ่งในการเลือกใช้ ดังนั้นการประเมินประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ผลิตจะต้องคำนึงถึงเมื่อต้องการเลือกสารสำคัญและความเข้มข้นที่เหมาะสมสำหรับการเตรียมผลิตภัณฑ์กันแดด
หลักการประเมินประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย การตรวจวัดค่า SPF (sun protection factor) เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UV-B คำนวณจาก minimal erythemal dose of protected skin ต่อ minimal erythemal dose of unprotected skin การตรวจวัดค่า PA (protection grade of UV-A) เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UV-A การทดสอบนั้นมีทั้งแบบนอกกายที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง และแบบในกายที่ต้องมีการใช้อาสาสมัครสำหรับการทดสอบ
ดังนั้นทางคณะผู้จัดจึงมีความสนใจในการจัดประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้ทางวิชาการด้านการเตรียมผลิตตภัณฑ์กันแดด การเลือกใช้สารสำคัญที่เหมาะสม การออกฤทธิ์ แนวโน้มทิศทางความเป็นไปทางการตลาดในปัจจุบันและอนาคตสำหรับสารสำคัญที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย รวมทั้งการประเมินประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ โดยการจัดประชุมนี้จะเป็นความร่วมมือระหว่างระหว่างคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภาคเอกชนเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิชาการ ในการนี้หน่วยวิจัยเครื่องสำอาง ศูนย์นวัตกรรมทางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ และหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเครื่องสำอาง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงร่วมกันในการจัดโครงการประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการ Current Trends in Sunscreen: Product Selection and Formulation Design ถือเป็นการสร้างความเข้าใจพื้นฐานเบื้องต้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศ รวมถึงผลิตภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเป็นความรู้ทางวิชาชีพให้ศึกษาต่อเนื่องเพื่อไปพัฒนาวิชาชีพให้ทำงานดีขึ้น
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เภสัชกรรวมถึงนักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการแนะนำผลิตภัณฑ์แก่ผู้บริโภค และออกแบบพัฒนาสูตรตำรับเครื่องสำอาง ได้เรียนรู้คุณสมบัติขั้นพื้นฐานของสารป้องกันแสงแดด แนวทางในการพิจารณาเลือกใช้สารสำคัญให้เหมาะสมกับประเภทผลิตภัณฑ์กันแดดรูปแบบต่างๆ การเตรียมผลิตภัณฑ์กันแดด รวมถึงการประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ เพื่อประกอบการพิจารณาเลือกใช้สารโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและการแพ้ และเพื่อเป็นความรู้ทางวิชาชีพให้ศึกษาต่อเนื่องเพื่อไปพัฒนาวิชาชีพให้ทำงานดีขึ้น (CPE)
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ของหน่วยการศึกษาต่อเนื่อง ฝ่ายวิชาการ คณะเภสัศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (www.ce.pharm.chula.ac.th) โทรศัพท์ 02-218-8283 หรือ E-mail: CE@pharm.chula.ac.th โดยมีอัตราค่าลงทะเบียนดังนี้ ลงทะเบียนและชำระเงินภายในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2566 1. ค่าลงทะเบียนภาคบรรยาย 1,000 บาท 2. ค่าลงทะเบียนภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ 3,000 บาท