การประชุมวิชาการ
โครงการจัดประชุมวิชาการประจำปีของสรีรวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 50 ประจำปี พ.ศ. 2566 เรื่อง “Friends or Foes in Metabolic Syndrome”
ชื่อการประชุม โครงการจัดประชุมวิชาการประจำปีของสรีรวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 50 ประจำปี พ.ศ. 2566 เรื่อง “Friends or Foes in Metabolic Syndrome”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-009-05-2566
สถานที่จัดการประชุม
วันที่จัดการประชุม 24 -26 พ.ค. 2566
ผู้จัดการประชุม กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
กลุ่มเป้าหมาย แพทย์ อาจารย์ นักวิจัย บุคลากรทางการแพทย์ นักวิชาการ นิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และผู้สนใจ ทั่วไป จำนวนประมาณ 200 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 4.25 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
สรีรวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทยมีพันธกิจในการเผยแพร่ความรู้และผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องให้แก่สมาชิกและวงการที่เกี่ยวข้อง และเป็นสื่อสัมพันธ์ของมวลสมาชิกสมาคมจึงได้จัดประชุมวิชาการสรีรวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทยเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ พ.ศ.2515 ในปีพ.ศ.2566 ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสรีรวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทยจึงได้มีแผนจัดงานประชุมประจำปีของสรีรวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 50 ในหัวข้อ “Friends or Foes in Metabolic Syndrome”
ภาวะเมแทบอลิกซินโดรมเป็นภาวะที่พบได้บ่อยโดยจากการศึกษาพบว่าร้อยละ 32.6 ของประชากรไทย (ร้อยละ 28.7 ในประชากรชาย และร้อยละ 36.4 ในประชากรหญิง) มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรม ซึ่งภาวะเมแทบอลิกซินโดรมถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไขมันพอกตับ และมะเร็งหลายชนิด ภาวะเมแทบอลิกซินโดรมจึงถือว่าเป็นภาวะที่นำไปสู่การเจ็บป่วยและการเสียชีวิตที่สำคัญของประเทศไทยซึ่งการรักษาภาวะเมแทบอลิกซินโดรมและภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องประกอบไปด้วย การปรับพฤติกรรม การรักษาด้วยยา และการผ่าตัดลดน้ำหนัก เป็นต้น โดยปัจจุบันมีวิธีการรักษาแบบใหม่ที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นทั้ง ในระดับประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งการรักษาเหล่านี้บางครั้งอาจจะยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์สนับสนุนอย่างแน่ชัด ในการประชุมครั้งนี้จึงมีการรวบรวมแนวทางการรักษาแบบใหม่นี้มาแจกแจงให้ผู้เข้าฟัง บรรยายทราบถึงประโยชน์ และโทษรวมถึงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาสนับสนุน
นอกจากนี้เนื้อหาการบรรยายยังครอบคลุมไปถึงภาวะแทรกซ้อนของภาวะเมแทบอลิกซินโดรมที่พบได้บ่อย แต่ไม่เป็นที่ทราบอย่าง แพร่หลายว่ามีความเกี่ยวข้อง และอาจส่งผลต่อพยากรณ์โรคหรือคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
วัตถุประสงค์
1. เป็นเวทีทางวิชาการระดับชาติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อรับทราบองค์ความรู้ใหม่และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการรักษาแบบใหม่และภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญในภาวะเมแทบอลิกซินโดรม เพื่อนำไปปรับใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น
2. เป็นเวทีทางวิชาการระดับชาติสำหรับนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นิสิตและนักศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ผลงานวิจัย และแนวคิดงานวิจัยด้านการรักษาแบบใหม่และภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญในภาวะเมแทบอลิกซินโดรม เพื่อนำไปขยายหรือต่อ
ยอดงานวิจัยให้มีความทันสมัย และสามารถแข่งขันได้กับต่างประเทศ รวมถึงการสร้างความร่วมมือด้านวิจัยระหว่างนักวิจัย
3. ให้ความรู้กับประชาชนที่สนใจ เพื่อรับทราบเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และทางการแพทย์ในด้านการรักษาแบบใหม่และภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญในภาวะเมแทบอลิกซินโดรม
4. เป็นเวทีให้นักวิจัยพบปะกับผู้ประกอบการ เช่นบริษัทยา หรือบริษัทด้านเทคโนโลยี artificial intelligence เพื่อนำความรู้ที่ได้จากงานวิจัยไปพัฒนาต่อในเชิงพาณิชย์ ทำให้การนำไปใช้กว้างขวางมากขึ้น
คำสำคัญ