ชื่อการประชุม |
 |
อบรมระยะสั้นทางการบริหารเภสัชกิจ |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
รหัสกิจกรรม |
 |
1009-2-000-004-03-2566 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
วันที่จัดการประชุม |
 |
20 -24 มี.ค. 2566 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
เภสัชกรผู้สนใจ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
30 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
การบริหารเภสัชกิจมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมตลอดเวลา
การปฏิบัติต้องอาศัยความรู้และทักษะการบูรณาการเภสัชศาสตร์ร่วมกับศาสตร์สาขาอื่นในการดูแลสุขภาพ
ของผู้ป่วยและประชาชนให้สามารถเข้าถึงยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพเมื่อต้องการและมีการใช้อย่างคุ้มค่า เกิด
ประโยชน์สูงสุด วิทยาลัยการบริหารเภสัชกิจแห่งประเทศไทย สภาเภสัชกรรม ตระหนักถึงความเป็นพลวัตของ
บทบาทเภสัชกรในการจัดการอุปสงค์และอุปทานด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่าเภสัชกรรม
ในระบบสุขภาพให้บุคลากรทางการแพทย์และประชาชน ผลิตภัณฑ์สุขภาพ การบริการสุขภาพ รวมถึงข้อมูล
และสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เป็นผลให้เภสัชกรผู้ปฏิบัติในบทบาทหน้าที่ดังกล่าวทั้งในหน่วยงานของรัฐและ
เอกชน มีความจ าเป็นต้องเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านบริหารเภสัชกิจอย่างต่อเนื่อง จักเป็นประโยชน์ให้
ระบบยาและสุขภาพมีการพัฒนาไปอย่างมั่นคง เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีของสังคมต่อไป
การวิจัยและพัฒนางานเภสัชกรรมและระบบสุขภาพ (Research and Development of Pharmacy
and Health System) มีความส าคัญต่อการปฏิบัติงานของเภสัชกรและบุคลากรด้านสุขภาพในการปฏิบัติงาน
ตามห่วงโซ่อุปทานของระบบยา การบริหารจัดการเชิงระบบและปรับปรุงพัฒนาระบบงานบนฐานขององค์
ความรู้เพื่อน าสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน อาทิ การวิจัยและพัฒนางานบริหารเวชภัณฑ์และการ
กระจายยาไปยัง รพสต.การผลิตยาและสมุนไพรส าหรับผู้ป่วยเฉพาะราย การดูแลผู้ป่วยทั้งระดับบุคคล
ครอบครัวและชุมชน การส่งเสริมนการใช้ยาอย่างสมเหตุผล การจัดการระบบยาและสุขภาพในชุมชนและในส ถ า น พ ย า บ า ล แ ละการควบคุมก ากับกฎหมายข้อบังคับเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัยของ
ประชาชน เพื่อให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยและประชาชนให้มีความปลอดภัยในการ
ใช้ยา ผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพ ตลอดจนการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีในสังคม
นอกจากนี้การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการวิจัยด้านยาและสุขภาพ มีส่วนส าคัญในการพัฒนา
และเพิ่มศักยภาพในการท าวิจัยทั้งระดับบุคคลและองค์กร และเป็นองค์ประกอบที่ส าคัญในการส่งเสริมและ
พัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพและยกระดับองค์ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ รวมถึงทางด้านเทคโนโลยีและ
นวัตกรรมในระบบของการผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพซึ่งสอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายของกระทรวง
อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เน้นให้บุคลากรมีการท าวิจัย และกระทรวงสาธารณสุขที่ได้
กระตุ้นและส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์ท าวิจัยและเผลแพร่ผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์กร องค์ความรู้และ
ประโยชน์ต่อวงการสาธารณสุขและสังคมในวงกว้าง นอกจากนี้ มีการก าหนดให้บุคลากรสามารถขอรับการ
ประเมินเพื่อเลื่อนต าแหน่งทางวิชาการในระดับช านาญการ ช านาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ โดยผู้ขอรับการ
ประเมินต้องมีผลงานวิชาการในลักษณะงานวิจัยที่สัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับงานวิชาชีพของตนเพื่อพัฒนา
สมรรถนะ ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพและประกอบการพิจารณาเพื่อเลื่อนต าแหน่งที่สูงขึ้นต่อไป
วิทยาลัยการบริหารเภสัชกิจแห่งประเทศไทย และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงได้
จัดท าหลักสูตรการฝึกอบรมการบริหารเภสัชกิจระยะสั้น การวิจัยและพัฒนางานเภสัชกรรมและระบบสุขภาพ
ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการส่งเสริมสถาบันหลักและสถาบันสมทบในการจัดท าโครงการฝึกอบรมด้านการบริหาร
เภสัชกิจต่อไป
วัตถุประสงค์
1 วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดโจทย์วิจัยในการพัฒนางานเภสัชกรรมหรือระบบสุขภาพ
2 ออกแบบแนวทางการพัฒนางานเภสัชกรรมหรือระบบสุขภาพ
3 เลือกวิธีวิทยาการวิจัยที่เหมาะสมในการประวิจัยและประเมินผลแนวทางการพัฒนางานเภสัชกรรม
และระบบสุขภาพ
4 เขียนและนำเสนอผลงานวิจัยเพื่อน าไปใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบายและการปฏิบัต
คำสำคัญ
การบริหารเภสัชกิจ การวิจัยและพัฒนา