การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 17 “Pharmacotherapy for Non-communicable disease (NCDs): Role of Pharmacist in Management for Patients”
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเภสัชกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 17 “Pharmacotherapy for Non-communicable disease (NCDs): Role of Pharmacist in Management for Patients”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รหัสกิจกรรม 1004-2-000-006-03-2566
สถานที่จัดการประชุม โรงแรม เซ็นทารา อันดาเทวี รีสอร์ทแอนด์สปา กระบี่ อ.เมือง จ.กระบี่
วันที่จัดการประชุม 11 -12 มี.ค. 2566
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรที่สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
กลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable diseases) เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ ซึ่งปัญหาสุขภาพของประชากรทั่วโลก ซึ่งมีแนวโน้มของอัตราการป่วยและตายจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้น โดยมีสถิติผู้เจ็บป่วยและเสียชีวิตสูงเป็นอันดับหนึ่ง ปัจจุบันภาครัฐได้สูญเสียค่าช้าจ่ายด้านสุขภาพเฉลี่ยคนละ 6,286 บาท หรือประมาณ 4 แสนล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยองค์การสหประชาชาติได้ประกาศเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ในปีพ.ศ. 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนางานด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และนิเวศน์ของประชากรโลก ในการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีความจำเป็นต้องได้รับยาเป็นระยะเวลานานหรือตลอดชีวิต ในบางครั้งคนไข้รายเดียวกันอาจเผชิญภาวะของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลายๆโรคพร้อมกัน ผู้ป่วยหนึ่งรายอาจเผชิญภาวะของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลายๆโรคพร้อมกัน ดังนั้นความเหมาะสมและความถูกต้องของการใช้ยา การประเมินผลข้างเคียง ปฏิกิริยาของที่ใช้ร่วมกันจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการรักษากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
จากปัญหากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่จัดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่มีความสำคัญเพิ่มขึ้น ประกอบกับบทบาทของวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาล ซึ่งเป็นหนึ่งในวิชาชีพที่มีความสำคัญต่อระบบบริการทางสาธารณสุขในการดูแลผู้ป่วยให้เกิดความปลอดภัยในด้านการใช้ยาร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพอื่น ๆ ในโรงพยาบาล เช่น แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักโภชนากร เภสัชกรจึงมีส่วนสำคัญในการเฝ้าระวังและป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา ลดปัญหาที่เกิดจากยา ดังนั้นความรู้และทักษะของเภสัชกรโรงพยาบาลในการให้บริบาลเภสัชกรรม ได้แก่ การติดตามและให้คำแนะนำด้านยารวมทั้งการดูแลสุขภาพอย่างทันท่วงที สามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเพิ่มประสิทธิผลการรักษาในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รวมทั้งมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาทางสุขภาพในระยะยาวแก่ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแก่เภสัชกรโรงพยาบาล
2. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
3. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรโรงพยาบาลให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน
คำสำคัญ
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, non-communicable diseases, NCDs