การประชุมวิชาการ
การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมชุมชนนักปฏิบัติด้านเอชไอวี ด้วยโปรแกรม ECHO ปี 2566
ชื่อการประชุม การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมชุมชนนักปฏิบัติด้านเอชไอวี ด้วยโปรแกรม ECHO ปี 2566
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-2-000-012-02-2566
สถานที่จัดการประชุม ผ่านระบบออนไลน์ Zoom
วันที่จัดการประชุม 23 ก.พ. 2566 - 24 ส.ค. 2566
ผู้จัดการประชุม กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
กลุ่มเป้าหมาย แพทย์ เภสัชกร พยาบาลผู้ประสานงานด้านเอชไอวี มหาวิทยาลัยแพทย์ทั่วประเทศ สมาคมโรคเอดส์ สำนักอนามัย สำนักการแพทย์ กทม.
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 8.75 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ด้วยประเทศไทยมีเป้าหมายในการยุติปัญหาเอดส์ ในปี 2573 โดยการลดผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ลดการเสียชีวิตในผู้ติดเชื้อเอชไอวี และลดการตีตราและเลือกปฏิบัติอันเนื่องจากเอชไอวีและเพศภาวะ ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ มาตรการที่สำคัญ คือ การเร่งรัดให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้เข้าถึงบริการรักษาที่มีคุณภาพมาตรฐาน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องจัดระบบการเรียนรู้เพื่อสร้างชุมชนนักปฏิบัติด้านเอชไอวีให้มีศักยภาพและมีความเชี่ยวชาญในการบริการดูแลรักษาด้านเอชไอวี โดยในปี 2565 กรมควบคุมโรคโดยกองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากศูนย์ความร่วมมือไทย - สหรัฐ ด้านสาธารณสุข ร่วมกันพัฒนากิจกรรมการขับเคลื่อนชุมชนนักปฏิบัติด้านเอชไอวี ด้วยโปรแกรม ECHO (Extension for Community Healthcare Outcomes) โดยมีแนวคิด คือ การเคลื่อนย้ายองค์ความรู้ไปสู่บุคคล แทนการเคลื่อนย้ายบุคคลไปหาองค์ความรู้ กิจกรรมเป็นการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Teleconference เรียนรู้จากกรณีศึกษาจริง ผ่านการนำเสนอ Case-based learning โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญจากสหสาขาวิชาชีพเข้าร่วม ให้คำแนะนำ ในการดูแลผู้ป่วย รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมรับฟังแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพที่คล้ายกัน (Sharing best practice) และปิดท้ายด้วยการเสริมการเรียนรู้ผ่านการสอนทฤษฎีโดยผู้เชี่ยวชาญ และมีแหล่งข้อมูลในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานมีองค์ความรู้และแนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน นำไปสู่การยกระดับคุณภาพบริการดูแลรักษาเอชไอวีอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ในปี 2566 กรมควบคุมโรค โดยกองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ร่วมกับศูนย์ความร่วมมือไทย - สหรัฐ ด้านสาธารณสุข ได้จัดทำโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมชุมชนนักปฏิบัติด้านเอชไอวี ด้วยโปรแกรม ECHO ปี 2566 เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติด้านเอชไอวีระดับพื้นที่ ในพื้นที่ต้นแบบ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลในพื้นที่ ได้แก่ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โรงพยาบาลอุดรธานี และโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ในส่วนของระดับประเทศ กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ร่วมกับสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้จัดกิจกรรมชุมชนนักปฏิบัติด้านเอชไอวี ด้วยโปรแกรม ECHO ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ที่สนใจทั่วประเทศ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากทีมผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศและสมาคมโรคเอดส์ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การดูแลรักษาเอชไอวี ทำให้เกิดเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติที่มีขีดความสามารถในด้านการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบบริการด้านเอชไอวีให้มีการจัดบริการด้านเอชไอวีที่มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและยั่งยืน ที่ส่งผลให้บรรลุเป้าหมาย 95-95-95 ต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ให้สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ด้านเอชไอวี และโรคร่วมต่าง ๆ ได้แก่ วัณโรค โรคติดต่อทางเพสสัมพันธ์ โรคไวรัสตับอักเสบบีและซี รวมถึงการพัฒนา
คุณภาพระบบการดูแลรักษาเอชไอวี
2. เพื่อสร้างเครือข่ายการจัดการเรียนรู้และขับเคลื่อนชุมชนนักปฏิบัติด้านเอชไอวี ด้วยโปรแกรม ECHO
ในระดับพื้นที่
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ลงทะเบียนฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย