การประชุมวิชาการ
โครงการอบรมนักวิจัยลูกไก่
ชื่อการประชุม โครงการอบรมนักวิจัยลูกไก่
สถาบันหลัก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
รหัสกิจกรรม 3001-2-000-004-02-2566
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม
วันที่จัดการประชุม 21 -23 ก.พ. 2566
ผู้จัดการประชุม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาที่เตรียมตัวจะทำผลงานวิชาการ เพื่อเลื่อนขั้นเลื่อนระดับ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 12 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
จากข้อมูลผลสำรวจมุมมองผู้บริโภคทั่วโลก (Global consumer insights survey) ประจำปี 2564 ซึ่งทำการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย และข้อมูลผลการสำรวจโดยศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ และธุรกิจ (EIC) ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคไทยจำนวน 3,205 คน เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและพฤติกรรมการบริโภคในช่่วง COVID-19 และแนวโน้มหลังวิกฤตคลี่คลาย โดยผลสำรวจของทั้งสองส่วนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยสามารถสรุปได้ดังนี้ คือ พฤติกรรมการซื้อสินค้าในตลาดออนไลน์เพิ่มขึ้น การระบาดของโรค COVID-19 ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคไทยให้ปรับตัวไปสู่ดิจิทัลมากขึ้นอย่างเต็มรูปแบบ และสถานการณ์หลัง COVID-19 นั้น มีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ต่อเนื่อง แม้สถานการณ์จะคลี่คลายแล้วก็ตาม นอกจากนี้ การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยจะเป็นเทรนด์หลักของการบริโภคยุคใหม่ จากมาตรการของรัฐบาลด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่เข้มงวดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาด เช่น การใช้สเปรย์ทำความสะอาดฆ่าเชื้อเป็นประจำที่ฝ่ามือ เสื้อผ้า หรือวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในบ้าน การใช้หน้ากากอนามัยในที่แออัดและที่สาธารณะ และการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์และผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ในการดูแลสุขภาพเองที่บ้านนั้นจะเป็นพฤติกรรมที่ประชาชนจะเคยชิน และกลายเป็น New normal ในที่สุด
อย่างไรก็ตาม แม้แนวโน้มการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพจะเพิ่มขึ้น แต่ยังพบว่าการร้องเรียนจากผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพก็สูงด้วยเช่นกัน ข้อมูลจากการสำรวจสถานการณ์ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ร่วมกับเครือข่ายผู้บริโภค 7 ภาค เปิดเผยข้อมูลสถิติของสถานการณ์ผู้บริโภคในประเทศไทย โดยแบ่งปัญหาของผู้บริโภคออกเป็น 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการเงินการธนาคาร ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ด้านบริการสาธารณะ ด้านสินค้าและบริการทั่วไป ด้านสื่อและโทรคมนาคม ด้านที่อยู่อาศัย และด้านบริการสุขภาพ นั้น พบว่าปัญหาด้านอาหาร ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เป็นปัญหาที่มีผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามามากที่สุดเป็นอันดับ 1 ติดต่อกัน 3 ปีซ้อน คือ 2561, 2562, และ 2563 เป็นจำนวนผู้ร้องเรียน (สัดส่วน % เทียบกับผู้ร้องเรียนทั้งหมด) อยู่ที่ 1,505 เรื่อง (33.11%), 1,534 เรื่อง (36.68%), และ 1,089 เรื่อง (29.70%) ตามลำดับ จากสภาพปัญหาดังกล่าว ทำให้เกิดการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ตั้งแต่ปี 2562 จนกระทั่งปี 2564 ได้มีการจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกันระหว่าง 19 องค์กร ซึ่งทำให้ปัญหาด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพลดลง โดยข้อมูลสถานการณ์ผู้บริโภคปี 2564 พบว่าปัญหาด้านอาหาร ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพลดลงอย่างมีนัยสำคัญเหลือเพียง 44 เรื่อง (1%) จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการบูรณาการทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนางานด้านการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพ และระบบบูรณาการทำงานดังกล่าวควรมีการติดตามเพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดเป็นระบบการทำงานที่มีความเข้มแข็งและยั่งยืน และสามารถจัดการกับปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั้งในสถานการณ์ปรกติและวิกฤติ
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงจัดทำโครงการพัฒนางานวิจัย/พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์สุขภาพขึ้นเพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนงานวิจัย การจัดการความรู้และสร้างนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อการพัฒนาประเทศทั้งในสถานการณ์ปรกติและสถานการณ์วิกฤติ ซึ่งสอดรับกับนโยบายของรัฐบาล ดังคำแถลงนโยบาย ของคณะรัฐมนตรี โดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2562 ระบุทิศทางนโยบายของรัฐบาลว่า หนึ่งในนโยบายการปฏิรูปหน่วยงานภาครัฐ คือการปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐมีการพัฒนาระบบงานวิจัยซึ่งจะเป็นระบบพื้นฐานที่จะช่วยสร้างองค์ความรู้ใหม่และนำผลการวิจัยไปพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจ สังคม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและคุณภาพชีวิตของประชาชนได้ เพื่อสอดรับกับนโยบายดังกล่าว ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในฐานะที่เป็นองค์กรหลักของภาครัฐที่ทำหน้าที่โดยตรงในการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศ โดยหนึ่งในภารกิจตามกฎหมายของกรมคือ “ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล” โดยเน้นการสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เกิดเป็นกลไกการทำงานวิจัยร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อให้เกิดการ บูรณาการทำงานที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ และใช้การจัดการความรู (Knowledge management) เป็นเครื่องมือสำคัญในการสงเสริมศักยภาพดานการเรียนรูและพัฒนาขีดความสามารถ (Competency) ของบุคลากรทุกระดับให้สามารถปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่รับผิดชอบได้ เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ของหน่วยงาน หากหน่วยงานมีระบบการจัดการความรูที่ดีจะช่วยให้บุคลากรสามารถเขาถึงแหล่งความรูที่จำเป็นตองใช้ในการปฏิบัติงานได้ง่าย นอกจากนั้นยังช่วยให้เกิดการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานจากรุ่นสู่รุ่นผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อนำไปปรับใชและพัฒนางานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ ในปี 2564 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดการความรู้ทั้งหมด 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) อบรมหลักสูตรการเป็น KM facilitator กับ Note taker จำนวน 1 ครั้ง 2) โครงการพัฒนาทักษะบุคลากรของกองยุทธศาสตร์และแผนงานเรื่อง เทคนิคการจดประเด็นและสรุป one page จำนวน 2 ครั้ง และ 3) จัดเวทีนำเสนอผลงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประจำปี 1 ครั้ง โดยได้องค์ความรู้ที่สร้างขึ้น/ เผยแพร่ในเว็บไซต์ FDA KM รวม 23 เรื่อง และนำไปใช้ประโยชน์ 4 เรื่อง ทำให้บุคลากรได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ และนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางาน
ในการนี้ เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องตามทิศทางนโยบายการปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ควบคู่ไปกับการพัฒนากลไกบูรณาการทำงานด้านวิชาการกับภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องนั้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน จึงจัดทำโครงการพัฒนางานวิจัย/นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ โดยดำเนินการใน 5 ประเด็น ดังนี้
1) การพัฒนาระบบสนับสนุนงานวิจัยและสร้างนวัตกรรมองค์กร ทั้งในด้านการบริหารจัดการงานวิจัย การแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านงานวิจัย การพัฒนาระบบฐานข้อมูลงานวิจัยขององค์กร
2) การจัดทำแผนงานวิจัยและสร้างนวัตกรรมขององค์กร เพื่อเป็นทิศทางในการสร้างองค์ความรู้ที่จำเป็นขององค์กรและสามารถเชื่อมโยงไปสู่ระดับกระทรวงและตอบโจทย์สำคัญของประเทศทั้งในสถานการณ์ปรกติและสถานการณ์วิกฤติ
3) การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ด้วยการจัดทำคลินิกวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ ให้มีทักษะในการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยและสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อพัฒนาองค์กร และใช้กระบวนการจัดการความรู้ โดยการจัดอบรมเรื่องสุนทรียสนทนา (Dialogue) เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนแนวคิดเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) เกิดความมุ่งมั่นและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และให้ข้อเสนอแนะแนวทางในหัวข้อการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
4) การพัฒนาเครือข่ายบูรณาการด้านวิชาการและวิจัยผ่านการสร้างความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคชุมชน และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยายผลจากงานวิจัยในระดับองค์กรสู่นวัตกรรมเชิงพาณิชย์และเชิงสังคมที่ตอบโจทย์ประเทศ
5) การพัฒนาระบบการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลงานวิจัยสู่สาธารณะ ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การเผยแพร่ผลงานวิจัยในเวทีประชุมวิชาการ และการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการ และส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อการพัฒนาประเทศในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์วิกฤติ
คำสำคัญ
วิจัย
วิธีสมัครการประชุม
https://docs.google.com/spreadsheets/d/1TvvUuzJz5NAIHeZE4HdBwsI6w1J7zpFgsw1o13rYTC0/edit#gid=0