การประชุมวิชาการ
ประชุมวิชาการเภสัชกรโรงพยาบาลอาสาพาเลิกบุหรี่
ชื่อการประชุม ประชุมวิชาการเภสัชกรโรงพยาบาลอาสาพาเลิกบุหรี่
สถาบันหลัก มูลนิธิเภสัชกรรมชุมชน
รหัสกิจกรรม 5004-2-000-001-02-2566
สถานที่จัดการประชุม ประชุมผ่านระบบประชุมออนไลน์ (Zoom Meeting)
วันที่จัดการประชุม 15 ก.พ. 2566
ผู้จัดการประชุม มูลนิธิเภสัชกรรมชุมชน
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรโรงพยาบาลหรือเภสัชกรที่สนใจ จำนวนประมาณ 300 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การสูบบุหรี่ในประเทศไทยเป็นปัญหาที่ยังขยายวงกว้างและมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากมีการใช้บุหรี่ทั้งแบบมวนและแบบไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น พบว่านักสูบหน้าใหม่มีอายุที่ลดน้อยลงและมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม อย่างกว้างขวางและเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเป็นจำนวนมากจากข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ.2557 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ประเทศไทยมีผู้สูบบุหรี่จำนวน11.4ล้านคนอัตราการสูบบุหรี่ในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปร้อยละ 20.7 ต่อประชากรพันคนอยู่ในกลุ่มอายุ 25-59 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยทำงานมากที่สุดร้อยละ 23.5 รองลงมาคือกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 16.6และกลุ่มอายุ 15-24 ปีร้อยละ 14.7ตามลำดับเป็นผู้ชายร้อยละ 40.5และผู้หญิงร้อยละ 2.2โดยสูบบุหรี่จากโรงงานอย่างเดียวมากที่สุด 5.3 ล้านคน รองลงมาคือบุหรี่มวนเอง 4.2 ล้านคน และทั้งบุหรี่โรงงาน/บุหรี่มวนเอง 1.9 ล้านคนและมีคนไทยได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้านร้อยละ 28.1 มีนักสูบหน้าใหม่เกิดขึ้นราว2-3 แสนคนต่อปีคนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละประมาณ 52,000 คน เฉลี่ยวันละ 142 คน ชั่วโมงละ 6 คนและเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากบุหรี่ร้อยละ 12 ของการตายทั้งหมดผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสตายด้วยโรคมะเร็งมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 20 เท่า ที่สำคัญ 1 ใน 4 เป็นเด็กเล็กที่ตายเพราะได้รับควันบุหรี่มือสองหากการควบคุมการบริโภคยาสูบไม่เข้มแข็งจะมีการตายด้วยโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ถึง 8 ล้านคนใน 20 ปีข้างหน้า เภสัชกรเป็นบุคลากรทางการแพทย์ผู้ให้บริการด้านสุขภาพในหลากหลายมิติ ซึ่งปัจจุบันมีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมเลิกบุหรี่ ดังนั้นการสร้างเสริมความรู้รวมถึงแนวทางการแนะนำ ประเมิน และติดตามผู้ที่ติดบุหรี่ให้เลิกการสูบนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความเชื่อมั่นแก่เภสัชกร รวมถึงผู้รับบริการในการเลิกบุหรี่ และนำไปสู่การเลิกบุหรี่ที่สำเร็จอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เภสัชกรโรงพยาบาลมีความรู้เรื่องการเลิกบุหรี่
2. เพื่อพัฒนาให้เภสัชกรโรงพยาบาลมีความรู้ความสามารถในการให้คำแนะนำแก่ประชาชนในการเลิกบุหรี่
คำสำคัญ
เภสัชกรโรงพยาบาล , การเลิกบุหรี่ , เภสัชอาสา
วิธีสมัครการประชุม
สมัครผ่าน Google form ตามลิงค์นี้ https://forms.gle/pVZRW7M8S8JBmMdo9 เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อมูล และจะส่งลิงค์ในการเข้าร่วมประชุมให้ทางอีเมล์ที่แจ้งสมัครเข้ามา ภายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566