หลักการและเหตุผล
กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
และมีการจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ (RDU-AMR) เพื่อให้ประชาชนได้รับการรักษาด้วยยา
อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและลดความสิ้นเปลืองทางเศรษฐกิจ รวมทั้งลดปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ
และประเทศไทยมีแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ พ.ศ.2560 - 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการป่วย การตาย และลดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากเชื้อดื้อยา กองบริหารการสาธารณสุข
จึงมีแผนติดตามการดำเนินงานของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับการจัดการ AMR
อย่างบูรณการ (Integrated AMR management) ในกิจกรรม ข้อ 5 การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา
และระบบจัดการ AMR ยังมีจุดอ่อนอยู่ และในปี พ.ศ.2564 พบว่ามีผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดเป็นการติดเชื้อ ร้อยละ 40.57 เป็นระยะเวลา 4 ปี ที่ผ่านมา (พ.ศ.2560 - 2564) จึงจำเป็นอย่างยิ่ง
ที่ต้องมีระบบสารสนเทศเพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์การป่วยจากเชื้อดื้อยาได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว
ซึ่งปัจจุบันโรงพยาบาลส่วนใหญ่มีอุปสรรคในการบริหารจัดการชุดข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล เนื่องจากฐานข้อมูลทางห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาไม่ได้เชื่อมโยงฐานข้อมูล
การเข้านอนโรงพยาบาลของผู้ป่วย จึงทำให้เป็นภาระของโรงพยาบาลในการจัดการข้อมูล
และทำให้การวิเคราะห์สถานการณ์ล่าช้า กองบริหารการสาธารณสุขจึงได้จัดทำโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การป่วยจากเชื้อดื้อยา กลุ่มภาคเหนือ