การประชุมวิชาการ
การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยจิตเวชประจำปี 2566
ชื่อการประชุม การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยจิตเวชประจำปี 2566
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
รหัสกิจกรรม 1014-2-000-004-03-2566
สถานที่จัดการประชุม โรงพยาบาลศรีธัญญา
วันที่จัดการประชุม 22 มี.ค. 2566 - 24 เม.ย. 2566
ผู้จัดการประชุม ชมรมเภสัชกรจิตเวช
กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายรวม 180 คน ประกอบด้วย เภสัชกรสังกัดกรมสุขภาพจิต จำนวน 50 คน, เภสัชกรเครือข่ายบริการสุขภาพ จำนวน 100 คน, วิทยากรและคณะทำงาน จำนวน 30 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 18.75 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ตามวิสัยทัศน์กรมสุขภาพจิตในการเป็นองค์กรหลักด้านสุขภาพจิตของประเทศ เพื่อประชาชนสุขภาพจิตดีสู่สังคมและเศรษฐกิจมูลค่าสูง โดยมุ่งพัฒนาองค์กรให้มีบทบาทหลักในการเป็นผู้นำด้านการขับเคลื่อนงานสุขภาพจิตของประเทศ เพื่อให้ประชาชนไทยซึ่งเป็นทรัพยากรและทุนมนุษย์ที่สำคัญมีสุขภาพจิตที่ดี จนเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศ มีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศให้เกิดมูลค่าที่สูงขึ้นได้
จากประเด็นนโยบายของกรมสุขภาพจิตข้อที่ 2 คือมุ่งมั่นผลักดันงานสุขภาพจิต เพื่อให้คนในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข โดยครอบคลุมทั้ง 5 มิติที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 โดยมีเป้าหมายส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีสุขภาพจิตดี ป้องกันผู้ที่เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตและควบคุมปัจจัยที่คุกคามสุขภาพจิต ปกป้องคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย ผู้ดูแล และสังคม บำบัดรักษาทางสุขภาพจิต และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวช โดยการสร้างและพัฒนาระบบยา (Medication Management System) ที่ดีและมีมาตรฐาน จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้น การสร้างและพัฒนาเภสัชกร กรมสุขภาพจิต ให้มีความเชี่ยวชาญด้านบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยจิตเวช และจิตเวชเด็กและวัยรุ่น รวมทั้งมีสมรรถนะเพียงพอต่อการพัฒนางานตามยุทธศาสตร์ของกรมสุขภาพจิต สามารถเป็นพี่เลี้ยง ถ่ายทอดความรู้และให้คำปรึกษาแก่เภสัชกรในเครือข่ายบริการสุขภาพได้ จึงมีความสำคัญเช่นกัน
กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลศรีธัญญา ร่วมกับชมรมเภสัชกรจิตเวช กรมสุขภาพจิต จึงได้จัดทำโครงการประชุมวิชาการการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยจิตเวช ประจำปี 2566 โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเภสัชกรรุ่นใหม่ให้สามารถปฏิบัติงานในระดับตติยภูมิขั้นสูง และพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง ทั้งความรู้ด้านเภสัชบำบัดจิตเวช ทักษะการให้คำปรึกษา และสมรรถนะอื่นๆ ของกรมสุขภาพจิต ร่วมทั้งจัดการและถ่ายทอดความรู้อย่างเป็นระบบสู่งภาคีเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของระบบบริการสุขภาพจิตในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ
วัตถุประสงค์
1. เพิ่มพูนความรู้และแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับงานบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน
2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยจากเภสัชกรโรงพยาบาลจิตเวช
3. พัฒนาศักยภาพเภสัชกร กรมสุขภาพจิต ด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านสุขภาพจิต
คำสำคัญ