ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ก.ย. 5 พ.ย. และ 5 ธ.ค. 2567
การประชุมวิชาการ
การประชุมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพร้านยาแผนปัจจุบัน (ขย.1) ในจังหวัดชลบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566 (ช่วงที่ 1)
ชื่อการประชุม การประชุมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพร้านยาแผนปัจจุบัน (ขย.1) ในจังหวัดชลบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566 (ช่วงที่ 1)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รหัสกิจกรรม 1015-2-000-002-02-2566
สถานที่จัดการประชุม ศูนย์ประชุมนานาชาตินงนุชพัทยา (NICE) อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
วันที่จัดการประชุม 19 ก.พ. 2566
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรจังหวัดชลบุรี
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรประจำร้านขายยาในเขตจังหวัดชลบุรี และเภสัชกรที่สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ภาวะกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disorder: GERD)
เป็นโรคที่พบบ่อย ในโรคที่เกี่ยวข้องกับการหลั่งกรด (acid-related diseases: ARD) ภาวะกรดไหลย้อน คือภาวะที่เกิดการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารขึ้นมาสู่หลอดอาหาร ซึ่งถูกกระตุ้นได้จากหลายปัจจัยเช่น ความเครียด การรับประทานอาหารไขมันสูง การรับประทานอาหารรสจัด ภาวะน้ำหนักตัวเกิน การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา เป็นต้น ภาวะกรดไหลย้อนนั้นอาจมีอาการได้หลากหลายทั้งกลุ่มที่มีอาการเด่นทางหลอดอาหาร และ กลุ่มที่มีอาการนอกทางเดินอาหาร ได้แก่ อาการแสบร้อนยอดอก (heartburn) อาการเรอเปรี้ยว(regurgitation) อาการเจ็บแน่นหน้าอก ที่ไม่ได้เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ( non-cardiac chest pain) อาการไอเรื้อรัง กล่องเสียงอักเสบ และฟันกร่อน เป็นต้น ภาวะกรดไหลย้อนนอกจะทำให้เกิดอาการที่รบกวนคุณภาพชีวิตแล้วยังมีผลเสียที่มากกว่านั้น โดยเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารอีกด้วย การรักษาภาวะกรดไหลย้อน และ โรคที่เกี่ยวข้องกับการหลั่งกรด (acid-related diseases: ARD) มีทั้งไม่ใช้ ยา และ ใช้ยา การรักษาโดยไม่ใช้ยา เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น เช่น การงดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา,หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารในช่วง3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน และพิจาณาการนอนยกหัวเตียงสูง, การลดน้ำหนักในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
การรักษาโดยใช้ยาเป็นการให้ยาเพื่อบรรเทาอาการและความรุนแรงของภาวะกรดไหลย้อน เช่น ยาต้านการหลั่งกรด (proton pump inhibitors), ยากลุ่มอัลจิเนต เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของยากลุ่ม PPIs อันได้แก่ การ ออกฤทธิ์ช้า ผลของ Cytochrome P450 polymorphisms ต่อประสิทธิภาพของยา ผลควบคุมการหลั่งกรดในเวลากลางคืนที่ยังไม่ดี ความเสถียรของยาในภาวะเป็นกรด เป็นต้น ทำให้ในปัจจุบันยังไม่สามารถควบคุมอาการ ต่างๆ ของโรคได้ทั้งหมด
บทบาทของเภสัชกรร้านขายยาในการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาภาวะกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disorder: GERD) จำเป็นต้อง มีองค์ความรู้ที่เชี่ยวชาญ เพื่อดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disorder: GERD) รวมทั้งโรคที่เกี่ยวข้องกับการหลั่งกรด (acid-related diseases: ARD) และ สามารถ ส่งต่อผู้ป่วย ได้อย่างเหมาะสม

Denture Care Advices in Pharmacists Community
ปัญหาภายในช่องปากและฟัน เช่น ปัญหาโรคเหงือก อาการเสียวฟัน เป็นอีกหนึ่งในปัญหาที่พบบ่อยในร้านขายยา ทุกคนเมื่อมีอายุที่เพิ่มมากขึ้น อวัยวะต่าง ๆ ที่ผ่านการใช้งานในทุกวันก็ต้องเกิดการเสื่อมสภาพ รวมถึงฟันของเราที่ตกอยู่ในภาวะความตึงเครียด ทั้งการกัด การเคี้ยว การบด และการพูด ฟันก็เหมือนอวัยวะทั่วไปที่ต้องการการดูแลที่แท้จริง เพื่อคงความแข็งแรง และมีสุขภาพดี การให้คำแนะนำการดูแลฟัน และ ปัญหาภายในช่องปาก (Denture Care Advices) ที่ถูกต้อง และ เหมาะสม จึงเป็นสิ่งที่เภสัชกรจำเป็นต้องมี อาทิ เช่น การรักษาความสะอาด โดยการแปรงฟัน และขัดฟันเป็นประจำ รวมถึงการตรวจสุขภาพช่องปาก การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพฟันอย่างเหมาะสม เพื่อที่คราบจุลินทรีย์จะได้ไม่มาเกาะตามฟัน และขอบเหงือก หลีกเลี่ยงขนมที่มีน้ำตาลมากเกินไป เครื่องดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ต้องสังเกตความผิดปกติภายในช่องปาก ถ้าหากเกิดความผิดปกติจะได้แก้ไข และรับการรักษาได้ทันเวลา
บทบาทของเภสัชกรร้านขายยาในการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาปัญหาภายในช่องปากและฟัน จำเป็นต้อง มีองค์ความรู้ที่เชี่ยวชาญ ทั้งการไม่ใช้ยา และ การใช้ยา เพื่อดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาภายในช่องปากและฟัน และ สามารถ ส่งต่อผู้ป่วยไปพบทันตแพทย์ ได้อย่างเหมาะสม
วัตถุประสงค์
1. ผู้เข้าร่วมประชุมทราบสาเหตุโรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease: GERD) และ โรคที่เกี่ยวข้องกับการหลั่งกรด (acid-related diseases: ARD)
2. ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเลือกแนวทางการรักษาด้วยการใช้ยาโรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease: GERD) และ โรคที่เกี่ยวข้องกับการหลั่งกรด (acid-related diseases: ARD) รวมถึง อาการข้างเคียง การให้คำแนะนำการปฏิบัติตัว แก่ ผู้ป่วย ในร้านขายยา ได้อย่างดี และ สามารถ ส่งต่อผู้ป่วย ได้อย่างเหมาะสม
3. ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับ Denture Care Advices
4. สามารถเลือกยาและขนาดการรักษา รวมทั้งการให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง แก่ ผู้ป่วย ที่มีปัญหาภายในช่องปากและฟัน ในร้านขายยาได้ และ ส่งต่อผู้ป่วยไปพบทันตแพทย์ ได้อย่างเหมาะสม
คำสำคัญ
โรคกรดไหลย้อน, ยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร, ปัญหาภายในช่องปากและฟัน, เหงือกอักเสบ, อาการเสียวฟัน