การประชุมวิชาการ
Decontamination, Cleaning, Sampling and Monitoring for Life Science Facilities
ชื่อการประชุม Decontamination, Cleaning, Sampling and Monitoring for Life Science Facilities
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2004-2-000-002-02-2566
สถานที่จัดการประชุม ห้องออร์คิด 1 โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท 11 กรุงเทพฯ
วันที่จัดการประชุม 16 ก.พ. 2566
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย ฝ่ายประกันคุณภาพ ควบคุมคุณภาพ ผลิต วิศวกรรม ผู้ตรวจประเมินระบบคุณภาพ / GMP และผู้สนใจทั่วไป ในการผลิตยาปราศจากเชื้อ และชีววัตถุ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 5.25 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การผลิตยาปราศจากเชื้อ รวมถึงยาชีววัตถุ ตาม GMP มีข้อกำหนดพิเศษเพิ่มเติมจากการผลิตยาไม่ปราศจากเชื้อ ซึ่งกำหนดรายละเอียดในภาคผนวก 1 การผลิตยาปราศจากเชื้อ ( annex 1 manufacture of sterile medicinal products ) ตามประกาศกระทรวงกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีกีในการผลิตยาแผนปัจจุบันและแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาแผนโบราณ ตามกฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ.2559 เพื่อให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุดจากการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ อนุภาค และไพโรเจน โดยต้องเน้นทักษะ การฝึกอบและทัศนคติที่ถูกต้องของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เคร่งครัดตามวิธีการปฏิบัติที่กำหนดไว้ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องแล้ว กระบวนการทุกขั้นตอนมีความสำคัญตั้งแต่การออกแบบ การควบคุม และการตรวจติดตาม(monitoring ) เพื่อธำรงไว้ซึ่งความสม่ำเสมอของคุณภาพยาที่ผลิต การป้องกันปนการเปื้อนจากอนุภาค จุลินทรีย์ และไพโรเจน เริ่มตั้งการออกแบบระบบสนับสนุนการผลิต เครื่องมือ และกระบวนการในการควบคุมการปนเปื้อน โดยเฉพาะการปนเปื้อน อนุภาค และจุลินทรีย์ ไพโรเจน ในผลิตภัณฑ์ยา
ห้องปฏิบัติการที่ตรวจสอบ ทดสอบความปราศจากเชื้อ ( sterility test ) หรือ pyrogen ก็มีควาสำคัญที่จะต้องควบคุมความสะอาด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนระหว่างปฏิบัติการซึ่งจะส่งผลต่อการตรวจสอบ ทดสอบได้
ผู้ผลิตจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกระบวนการขจัดเชื้อสิ่งปนเปื้อน การทำความสะอาดที่ถูกวิธี การตรวจสอบและการตรวจติดตาม เพื่อให้มั่นใจว่ามีมาตรการที่สามารถควบคุมการปนเปื้อนได้ตามที่กำหนดไว้
วัตถุประสงค์
• เพื่อเรียนรู้การขจัดสิ่งปนเปื้อน ด้วย Hydrogen peroxide
• เพื่อเรียนรู้ การทำความสะอาด และ sanitization ของcleanroom ตามแนวทางของ Institute of Environmental Sciences and Technology (IEST-RP-CC018: Cleanroom Cleaning and Sanitization: Operating and Monitoring Procedures)
• เพื่อเรียนรู้การตรวจสอบความถูกต้องของการทำความสะอาดบริเวณผลิตยาปราศจากเชื้อ
• เพื่อเรียนรู้ระบบการตรวจติดตาม ( facility monitoring) และการแก้ปัญหา
คำสำคัญ
Decontamination, Cleaning, Sampling, Monitoring
วิธีสมัครการประชุม
สมัครออนไลน์ได้ที่ http://tipa.or.th/tipa/register/ เภสัชกรที่เข้าร่วมประชุมวิชาการครั้งนี้ จะได้ 5.25 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง สมาชิกสมาคมเภสัชกรอุตสาหการ(ประเทศไทย) ลงทะเบียนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย