การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการ การพัฒนาบทบาทเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ การพัฒนาบทบาทเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
สถาบันหลัก กองบริหารการสาธารณสุข
รหัสกิจกรรม 3003-2-000-001-01-2556
สถานที่จัดการประชุม online
วันที่จัดการประชุม 18 ม.ค. 2566
ผู้จัดการประชุม กองบริหารการสาธารณสุข
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรโรงพยาบาลศูนย์/ โรงพยาบาลทั่วไป/ โรงพยาบาลชุมชน ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
กระทรวงสาธารณสุขมีแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) ให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU) ทำให้ผู้ป่วยใช้ยาได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการรักษาที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วย
โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ยาซับซ้อนและต่อเนื่อง จำเป็นต้องได้รับการดูแลด้านยาจากเภสัชกรอย่างใกล้ชิด ดังนั้นการพัฒนาการใช้ยาอย่างสมเหตุผลจึงให้ความสำคัญกับโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การพัฒนาบทบาทของเภสัชกรจึงควรได้รับการถ่ายทอดทั้งความรู้เรื่องโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
การรักษาด้วยยาและเพิ่มบทบาทของเภสัชกรต่อการดูแลการใช้ยาและการให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยโรคดังกล่าว
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและลดความสิ้นเปลืองทางเศรษฐกิจ โรคหืดเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่พบบ่อยและเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยองค์การอนามัยโลก(World Health Organization หรือ WHO) ระบุว่าในปี 2562 มีผู้ป่วยโรคหอบหืดทั่วโลก 262 ล้านราย ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากกว่า 455,000 ราย ในประเทศไทยพบความชุกผู้ป่วยในผู้ใหญ่ประมาณมากกว่า 4 ล้านราย ข้อมูลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญฯ จากสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย พบว่า อัตราการเสียชีวิตจากโรคร่วมของโรคหืดเพิ่มขึ้นในทุกๆปี ข้อมูลจาก worldlifeexpectancy.com และพบผู้ป่วยในประเทศไทยเสียชีวิตด้วยโรคหืดวันละประมาณ 8-9 ราย คิดเป็น 3,142 รายต่อปี หรือคิดเป็นอัตรา 3.42 ต่อประชากร 1 แสนคน โดยผู้ใหญ่ที่ป่วยด้วยโรคหืดจะมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยเด็กถึง 5 เท่า อีกโรคหนึ่งคือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วย และอัตราตายของประชากรทั่วโลกเช่นกัน จากสถิติองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังประมาณ 210 ล้านคน หรือร้อยละ 10 ของประชากรผู้ใหญ่ คาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2030 โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จะเป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 3 ของประชากรโลก โดยปี ค.ศ. 2000 พบผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเสียชีวิต ประมาณ 2 ล้านคน คิดเป็นอัตราตายร้อยละ 4.8 และเป็นสาเหตุการตายอันดับ 5 รองจากโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง และโรคเอดส์ ประเทศไทยพบอัตราการเสียชีวิตจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเพิ่มสูงขึ้น 1.3 เท่าในช่วง 15 ปี ที่ผ่านมา โดยมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 40 คนต่อประชากรแสนคน หากเภสัชกร
มีการจัดการข้อมูลที่จะทำให้การวิเคราะห์สถานการณ์ได้ดีและเร็วยิ่งขึ้นก็จะส่งผลดีในการแก้ปัญหาจาก
การใช้ยาของผู้ป่วยดังกล่าวได้ดียิ่งขึ้น กองบริหารการสาธารณสุขจึงได้จัดทำโครงการนี้เพื่อสนับสนุน
การพัฒนาบทบาทของเภสัชกร ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาความรู้และบทบาทของเภสัชกรโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในการดูแล
ด้านยาสำหรับผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอย่างประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสามารถนำข้อมูลการใช้ยาไปวิเคราะห์ประกอบการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้
คำสำคัญ
Service Plan, RDU, โรคหืด, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, asthma, COPD
วิธีสมัครการประชุม
ลงทะเบียนสมัคร ตาม link webcast.live14.com/rdu-moph