การประชุมวิชาการ
งานประชุมวิชาการ The 8th National Pharmacy Conference on Antimicrobial Agents and Resistant Organisms (NCARO) Infectious Disease Pharmacists 2023 “The Unfinished solution for Difficulty-to-Treat infectious disease from Difficulty-to-Treat Pathogen”
ชื่อการประชุม งานประชุมวิชาการ The 8th National Pharmacy Conference on Antimicrobial Agents and Resistant Organisms (NCARO) Infectious Disease Pharmacists 2023 “The Unfinished solution for Difficulty-to-Treat infectious disease from Difficulty-to-Treat Pathogen”
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2003-2-000-003-02-2566
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องเจ้าพระยา โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์ พระราม 3 กรุงเทพมหานคร
วันที่จัดการประชุม 27 ก.พ. 2566 - 03 มี.ค. 2566
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรโรงพยาบาล ,เภสัชกรผู้สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 32.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
เนื่องจากองค์ความรู้และทักษะทางเภสัชบำบัดมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เภสัชกรโรงพยาบาลที่ดูแลการใช้ยาของผู้ป่วย ต้องหมั่นศึกษาเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และสามารถเชื่อมโยงกับระบบสุขภาพของประเทศไทยได้อย่างเหมาะสม สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย) และกลุ่มเภสัชกรผู้ดูแลการบำบัดผู้ป่วยโรคติดเชื้อด้วยยาต้านจุลชีพ (ประเทศไทย) ได้ตระหนักถึงความต้องการของเภสัชกรที่ปฏิบัติงานในสาขาโรคติดเชื้อ ที่มุ่งหวังจะได้รับการอบรมทางเภสัชบำบัดเฉพาะทางอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย จึงได้จัดงานประชุมวิชาการเป็นประจำทุกปี แต่ด้วยสถานการณ์การเเพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้ต้องงดการจัดประชุมไป เมื่อสถานการณ์ดีขึ้นจึงได้มีการจัดประชุมขึ้นในปี 2566 นี้ โดยจัดขึ้นภายใต้ชื่องานว่า The 8th National Pharmacy Conference on Antimicrobial Agents and Resistant Organisms (NCARO) Infectious Disease Pharmacists 2023: The Unfinished solution for Difficulty-to-Treat infectious disease form Difficulty-to-Treat Pathogen โดยมุ่งหวังที่จะสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ของเภสัชกร ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคติดเชื้อได้อย่างมีคุณภาพ มีมาตรฐานที่ดี และเป็นที่ยอมรับต่อทีมสหสาขาวิชาชีพ อันจะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคโรคติดเชื้อให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์
1.เพื่อเป็นการทบทวนและให้ความรู้ที่จำเป็นในการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคติดเชื้อในด้าน การวินิจฉัยและประเมินผู้ป่วยโรคติดเชื้อ การแปลผลความไวของเชื้อต่อยา การเลือกยาต้านจุลชีพแบบคาดการณ์ การกำหนดขนาดยาโดยอาศัยหลักการเภสัชจลนศาสตร์/เภสัชพลศาสตร์ การติดตามผลการรักษา การเปลี่ยนชนิดยาหรือการเปลี่ยนเป็นยารับประทาน
2.เพื่อให้ทราบถึงแนวทางในการนำไปปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคติดเชื้อ ผ่านการเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Case-based learning) อันได้แก่ กรณีผู้ป่วยได้รับพิษจากการติดเชื้อในระบบต่างๆ ทั้ง โรคติดเชื้อจากสายสวนหลอดเลือด การติดเชื้อผิวหนังและเยื่อบุอ่อน การติดเชื้อทางเดินหายใจ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อช่องท้อง และการติดเชื้อในผู้ป่วยศัลยกรรมประสาท
3.เพื่อเป็นแนวทางสำหรับเภสัชกรในการประยุกต์การใช้ยาต้านจุลชีพให้เหมาะสมในโรงพยาบาลสอดคล้องกับมาตรฐานโรงพยาบาล (Antimicrobial Stewardship Program (ASP)
คำสำคัญ
SOPITT ,HIV/AIDS/TB, infectious disease, Antimicrobial, โรคติดเชื้อ
วิธีสมัครการประชุม
ลงทะเบียนที่ www.thaihp.org