การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการ เรื่อง “Optimize Pharmacist skills in Parenteral nutrition 2023”
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ เรื่อง “Optimize Pharmacist skills in Parenteral nutrition 2023”
สถาบันหลัก กองบริหารการสาธารณสุข
รหัสกิจกรรม 3003-2-000-001-02-2566
สถานที่จัดการประชุม ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร
วันที่จัดการประชุม 23 -24 ก.พ. 2566
ผู้จัดการประชุม กองบริหารการสาธารณสุข
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรงานผลิตยาโรงพยาบาล
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 9 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาทารกแรกเกิด มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเจ็บป่วยและลดอัตราการตายในทารกแรกเกิด แนวคิดในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ได้แก่ การมีเครือข่ายบริการภายในและระหว่างเขตสุขภาพ ลดการส่งต่อ โดยการขยายขีดความสามารถของแต่ละเขตสุขภาพ โดยบทบาทของทีมเภสัชกรในการพัฒนางานดังกล่าว คือการเพิ่มความสามารถในการให้บริการเตรียมสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำในระดับโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป จากการสำรวจในปี 2557 พบว่ามีโรงพยาบาลที่ให้บริการเตรียมสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำ จำนวน 43 แห่ง จากโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปทั้งหมด 116 แห่ง ซึ่งปัญหาที่สำคัญในการเปิดหน่วยให้บริการคือ ความพร้อมของสถานที่ เครื่องมือและบุคลากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านองค์ความรู้ในการเตรียมสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำ (Parenteral Nutrition) ให้มีปริมาณสารอาหารตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย การคำนวณปริมาณสารอาหาร ความเข้ากันได้ของสารอาหารแต่ละชนิด และการเตรียมสารอาหารด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ (Aseptic Technique) ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เหมาะสมและปลอดภัย
กองบริหารการสาะรณสุขร่วมกับชมรมเภสัชกรโรงพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข
โดยคณะทำงานพัฒนางานเภสัชกรรมการผลิต ได้มีการจัดประชุมวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพของเภสัชกร งานผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่าย และเพิ่มองค์ความรู้ให้กับเภสัชกรที่ปฏิบัติงานด้านการเตรียมสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำ (Parenteral Nutrition) ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่มีความเหมาะสมและปลอดภัย โดยในปี 2566 จะมุ่งเน้นในเรื่องการจัดตั้งหน่วยเตรียมสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำ การเตรียมสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำสำหรับผู้ป่วยที่เป้นทารกแรกเกิดและผู้ใหญ่ รวมทั้งการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการเตรียมสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำ โดยวิทยากรประกอบด้วย แพทย์ และเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้เพื่อให้เภสัชกรที่เข้าร่วมประชุมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย
วัตถุประสงค์
1. เภสัชกรที่เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจสามารถพัฒนาระบบการให้บริการเตรียมสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำ (Parenteral nutrition)
2. มีเครือข่ายในการทำงานตั้งแต่ระดับ โรงพยาบาล จังหวัดและในระดับเขตสุขภาพ
3. มีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนาเครือข่ายที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ
Parenteral nutrition, Aseptic Technique, เภสัชกรงานผลิต, เตรียมสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำ
วิธีสมัครการประชุม
หนังสือเชิญประชุม