ชื่อการประชุม |
 |
Fighting the Obesity Pandemic |
สถาบันหลัก |
 |
สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) |
รหัสกิจกรรม |
 |
2002-2-000-001-02-2566 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
สุราลัยฮอลล์ และฮอลล์ 2 ชั้น 7 ไอคอนสยาม กรุงเทพมหานคร |
วันที่จัดการประชุม |
 |
09 -10 ก.พ. 2566 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
สมาชิกสมาคมเภสัชกรรมชุมชนและ เภสัชกรชุมชนที่สนใจ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
7.5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
ความอ้วน ถือเป็นโรคเรื้อรังที่มีปัจจัยเกี่ยวข้องหลายประการที่เป็นแล้วกลับเป็นซ้ำได้อีก และเป็นเหตุนำของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคอื่นๆ อีกมาก องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ไว้ว่าในปี ค.ศ. 2030 หรืออีก 8 ปีข้างหน้า จะมีคนอ้วนทั่วโลกมากถึง 1 พันล้านคน ความสูญเสียทางเศรษฐกิจของการมีน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วนเกิดได้โดยตรงจากค่ารักษาพยาบาล จากผลโดยอ้อมของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและการความสามารถในการทำงานลดลง
สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยกลุ่มโรค NCDs เป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรพยาธิวิทยาของคนที่เป็นโรคอ้วน ซึ่งมีมากกว่าร้อยละ 42.2 ของคนไทยที่อายุ 15 ปีขึ้นไป โดยที่ภาวะน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน มีความเกี่ยวข้องตั้งแต่พันธุกรรม ร่างกาย จิตใจ การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ บริบทของสังคม และธุรกิจการค้า
การจัดการปัญหาโรคอ้วนจำเป็นต้องทำให้เกิดความเชื่อมโยงของการบริหารจัดการตั้งแต่ระดับนโยบาย การป้องกันและการรักษา โดยที่อาศัยการบูรณาการของภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทางสังคม สิ่งแวดล้อมและการสาธารณสุข สมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย จึงจัดให้มีการประชุมวิชาการ ในหัวข้อ “Fighting The Obesity Pandemic” สำหรับแพทย์และบุคคลการทางการแพทย์ที่มีบทบาทในการบริบาลโรคอ้วนและกลุ่มโรค NCDs ที่เกี่ยวข้องกัน เพื่อให้ได้รับความรู้ที่ทันสมัยในการป้องกันและรักษาโรคอ้วน ตลอดจนความสำคัญของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคมในภาพกว้าง เพื่อการบูรณาการการจัดการปัญหาโรคอ้วนและ NCDs ของประเทศไทยอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์
1.ทราบปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเกิดโรคอ้วน (Obesogenic environment) และแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับบริบทของสังคม
2.มีความรู้ในการป้องกันโรคอ้วนและ NCDs แบบบูรณาการ
3.สามารถให้ความรู้ผู้ป่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและควบคุมน้ำหนักและลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคอ้วนและกลุ่มโรค NCDs ได้
4.ทราบแนวทางการรักษาโรคอ้วน ด้วยยา การผ่าตัด และพฤติกรรมบำบัด ที่เหมาะสมและจำเพาะสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
คำสำคัญ
โรคอ้วน ความรู้การป้องกัน แนวทางการรักษาโรคอ้วน