การประชุมวิชาการ
งานประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเภสัชกรนักปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแห่งประเทศไทย ปี 2565 Asthma and COPD Management Transformation in Post COVID Era.
ชื่อการประชุม งานประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเภสัชกรนักปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแห่งประเทศไทย ปี 2565 Asthma and COPD Management Transformation in Post COVID Era.
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2003-2-000-011-12-2565
สถานที่จัดการประชุม ณ โรงแรมโกลเด้นทิวลิป ซอฟเฟอริน ถ.พระรามเก้า กรุงเทพฯ
วันที่จัดการประชุม 19 -20 ธ.ค. 2565
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรโรงพยาบาล ,เภสัชกรผู้สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 9.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรคหอบหืด (Asthma) และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) จัดเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 3 ของโลกในปี 2020 และจากวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของโรคโคโรน่าไวรัส ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การปรับปรุงแนวทางการรักษาโรคตามความก้าวหน้าทางวิทยาการ ตัวยาใหม่และนวัตกรรมของรูปแบบยาพ่นสูด ตลอดจนการพัฒนารูปแบบบริการ เภสัชกรรมแบบทางไกล (Telepharmacy) ล้วนเป็นองค์ความรู้สำคัญที่เภสัชกรและทีมสหวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังต้องทบทวนและศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการปฏิบัติงานวิชาชีพ ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ในปี พ.ศ. 2565 นี้ สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) โดยกลุ่มเภสัชกรนักปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแห่งประเทศไทย จึงจัดให้มีการประชุมเชิงปฎิบัติการเรื่อง Asthma and COPD Management Transformation in Post COVID Era ขึ้น เพื่อให้เภสัชกรผู้เข้ารับการอบรมได้เพิ่มพูน องค์ความรู้และทักษะการปฏิบัติงานผ่านกรณีศึกษา สามารถนำไปพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคในระบบทางเดินหายใจที่เกี่ยวข้องร่วมกับทีมสหวิชาชีพ ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เภสัชกรผู้เข้าประชุม
1. ได้รับทราบแนวนโยบาย ข้อมูลสถานการณ์ของโรค ความก้าวหน้าของการรักษา และบทบาทของเภสัชกรในการบริบาลผู้ป่วยโรคหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคในระบบทางเดินหายใจ ครอบคลุมทั้งปฐมภูมิ จนถึงตติยภูมิ
2. ได้เรียนรู้องค์ความรู้ที่จำเป็นในการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง Allergic rhinitis ทั้ง แนวทางการรักษาใหม่ ยาใหม่ (ตัวยาและนวัตกรรมของยาสูดพ่นรูปแบบใหม่) การให้คำแนะนำผู้ป่วยในการเลิกบุหรี่ และการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19
3. ได้เรียนรู้แนวทางการดำเนินงาน Telepharmacy ที่ถูกต้อง เพื่อให้การบริบาลทางเภสัชกรรมกับผู้ป่วย ที่ไม่สามารถเดินทางมาที่โรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ได้เรียนรู้แนวคิดเชิงพัฒนาคุณภาพในการบริบาลทางเภสัชกรรมของผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ และการจัดการความรู้สู่การพัฒนางานวิจัยต่อไป
คำสำคัญ
Asthma, COPD, TPAC, โรคหอบหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง
วิธีสมัครการประชุม
ลงทะเบียนได้ที่ www.thaihp.org