การประชุมวิชาการ
การอบรม “การประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข” ครั้งที่ 17 หลักสูตรปฏิบัติการ
ชื่อการประชุม การอบรม “การประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข” ครั้งที่ 17 หลักสูตรปฏิบัติการ
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-2-000-028-11-2565
สถานที่จัดการประชุม ณ โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ สไตริช คอนเวนชั่น โฮเทล จังหวัดนนทบุรี
วันที่จัดการประชุม 02 -04 พ.ย. 2565
ผู้จัดการประชุม โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ
กลุ่มเป้าหมาย ผู้บริหาร นักวิชาการ นักวิจัย บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน และผู้ที่สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 11.25 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (Health Intervention and Technology Assessment Program หรือ HITAP) เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีภารกิจหลัก คือ ศึกษาผลกระทบทั้งบวกและลบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีหรือนโยบายด้านสุขภาพ โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายของภาครัฐ เพื่อทำให้การเลือกใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขเป็นไปอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ HITAP ยังให้ความสำคัญและดำเนินงานเพื่อการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถด้านการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายทั้งในระดับบุคคล องค์กร และบริบทของระบบสุขภาพ ที่ผ่านมา HITAP จึงจัดการอบรมการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข (Health economic evaluation) แก่บุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชนภายนอกขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยจัดการอบรมอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 15 ปี อย่างไรก็ตาม เนื้อหาและแบบฝึกหัดของการอบรมได้ถูกพัฒนาให้ทันสมัยทุกปี

การอบรมการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ดำเนินการโดยทีมวิจัย HITAP ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในสาขาดังกล่าว อีกทั้ง ผลงานวิจัยยังเป็นที่ยอมรับและได้รับการอ้างอิงกว้างขวางทั้งในระดับชาติและนานาชาติ การอบรมจะเน้นทั้งการบรรยายเกี่ยวกับหลักการและรายละเอียดของวิธีการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข พร้อมทั้งแบบฝึกหัด เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความเข้าใจ สามารถนำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและทำวิจัยได้จริง

การอบรมการประเมินความคุ้มค่าทางสาธารณสุขครั้งที่ 17 แบ่งออกเป็น 2 หลักสูตร ตามกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่
1) หลักสูตรเบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยผ่านการอบรมการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขมาก่อนหรือผู้ที่สนใจความรู้พื้นฐานของการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ซึ่งเนื้อหาประกอบด้วย ความสำคัญ หลักการ องค์ประกอบ แนวทางและขั้นตอนของการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ตลอดจนตัวอย่างการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และแนวโน้มของการประเมินเทคโนโลยีในอนาคต
2) หลักสูตรเชิงปฏิบัติการ เหมาะสมสำหรับผู้ที่เคยผ่านการอบรมในหลักสูตรเบื้องต้นมาแล้วหรือผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยด้านการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ซึ่งหลักสูตรนี้จะเน้นการปฏิบัติ โดยการสร้างแบบจำลอง (โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Microsoft® Excel™) ในการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Early HTA) และเมื่อผลิตภัณฑ์ออกสู่ท้องตลาด
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการ องค์ประกอบ แนวทาง และความสำคัญของการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขให้กับบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ
2. เพื่อสนับสนุนการพัฒนาความสามารถด้านการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข และเกิดการประยุกต์ใช้ข้อมูลของงานวิจัยในทางปฏิบัติหรือเชื่อมโยงผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
เชิงนโยบาย
3. เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
การสมัครและค่าลงทะเบียน หลักสูตร รอบ Early Bird* หน่วยงาน นักศึกษา** หลักสูตรเบื้องต้น 6,500 บาท 8,5000 บาท 3,000 บาท หลักสูตรเชิงปฏิบัติการ 13,000 บาท 15,000 บาท 6,000 บาท หลักสูตรเบื้องต้น และหลักสูตรเชิงปฏิบัติการ 19,500 บาท 23,500 บาท 9,000 บาท