การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการ เรื่อง Pain point in Pharmaceutical care : Unraveling and Counseling Approach
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ เรื่อง Pain point in Pharmaceutical care : Unraveling and Counseling Approach
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-2-000-001-03-2566
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องประชุม 302 อาคารเทพรัตน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วันที่จัดการประชุม 08 -10 มี.ค. 2566
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 13.75 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
งานบริบาลทางเภสัชกรรม (pharmaceutical care) เป็นความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรง ในยาที่ผู้ป่วยแต่ละรายได้รับ เพื่อมุ่งหวังให้ได้ผลการรักษาตามเป้าหมาย ลดอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย หน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญประการหนึ่งคือ การป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น การค้นหา และแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา เพื่อยังคงได้รับผลจากการรักษาตามเป้าหมายของการรักษาที่วางไว้ โดยจำเป็นต้องทำงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ ที่มีหน้าที่ในการรับผิดชอบดูแลผู้ป่วยเช่นกัน
การให้คำปรึกษาทางยา และ/หรือคำแนะนำอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับยาแก่บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วย เป็นหนึ่งในกระบวนการที่ช่วยป้องกัน และ/หรือปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาได้ การนำองค์ความรู้ตั้งแต่พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องการบริบาลทางเภสัชกรรม ความรู้ทางเภสัชจลนศาสตร์ (pharmacokinetics) และเภสัชพลศาสตร์ (pharmacodynamics) ประสิทธิภาพและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยเฉพาะราย เพื่อนำมาวางแผนการรักษาและป้องกันการเกิดปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา โดยเน้นในส่วนของการให้คำปรึกษาทางยาเป็นสำคัญ เพื่อมุ่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยและได้รับประสิทธิภาพสูงสุดจากการใช้ยาโดยอ้างอิงตามหลักฐานทางวิชาการ จึงมีความสำคัญที่บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องทั้งเภสัชกร แพทย์ และพยาบาลจะได้ตระหนัก และนำองค์ความรู้เหล่านี้ไปใช้ ทั้งในส่วนของการใช้ยา การวางแผนการติดตามประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยา การให้คำปรึกษาทางยาแก่ผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนักในการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถ
1. อธิบายความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับการบริบาลทางเภสัชกรรมได้
2. ประเมินความเหมาะสมของการใช้ยา การวางแผนการติดตามประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยาร่วมกัน และการให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ป่วยเพื่อเฝ้าระวัง
ป้องกันและแก้ไขอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น
3. ให้คำปรึกษาทางยาแก่บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วย เพื่อนำไปสู่การเฝ้าระวัง ป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียต่อผู้ป่วย
คำสำคัญ
Pain point in Pharmaceutical care, แนะนำปรึกษาแก่ผู้ป่วยเพื่อเฝ้าระวัง, คำปรึกษาทางยา
วิธีสมัครการประชุม
การสมัครและลงทะเบียน สมัครพร้อมชำระเงินโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 026-450910-5 ชื่อบัญชี การประชุมวิชาการเภสัชกรรมคลินิก มหาวิทยาลัยมหิดล โปรดกรอกใบสมัคร online ทาง www.pharmacy.mahidol.ac.th/conference พร้อม scan หรือ fax ใบโอนเงินชำระค่าลงทะเบียน (ใบ pay in) ทางโทรสารหมายเลข 0-2644-4536 (ในวันประชุมโปรดนำใบนำฝากธนาคารตัวจริงมาด้วยเพื่อตรวจสอบ) ค่าลงทะเบียน 1) การร่วมประชุมที่คณะเภสัชศาสตร์ (onsite) 3,500 บาทต่อคน 2) การประชุมผ่านระบบออนไลน์ (online) 1,500 บาทต่อคน สำหรับศิษย์เก่าคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับส่วนลดค่าลงทะเบียน 500 บาท ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานมหาวิทยาลัย เข้าร่วมประชุมได้โดยไม่ถือเป็นวันลาเมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้วและมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนจากต้นสังกัด ได้ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0409.6/ ว 95 ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2549 และระเบียบของแต่ละหน่วยงาน สอบถามข้อมูล ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ - หน่วยจัดกิจกรรมวิชาการ ที่โทรศัพท์หมายเลข 087-559-7393 - ผศ. พิชญา ดิลกพัฒนมงคล, คุณพิณพิศ แสงเภา, คุณพูนทรัพย์ มี้เจริญ, ที่โทรศัพท์/โทรสารหมายเลข 0-2644-8694, E-mail: mupyclin.conference@gmail.com, supattra.kon@mahidol.ac.th