การประชุมวิชาการ
โครงการอบรม เรื่อง 11th Conference on Drug Quality: “Fundamentals behind Pharmaceutical Specification and Quality Requirement beyond Specification”
ชื่อการประชุม โครงการอบรม เรื่อง 11th Conference on Drug Quality: “Fundamentals behind Pharmaceutical Specification and Quality Requirement beyond Specification”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-042-11-2565
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ กรุงเทพฯ
วันที่จัดการประชุม 24 -25 พ.ย. 2565
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 11 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันมีผู้ผลิตและผู้นำเข้าเภสัชภัณฑ์ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มีอัตราการแข่งขันในทางการตลาดอย่างสูง เพื่อผลักดันให้เภสัชภัณฑ์ของตนได้รับคัดเลือกให้เข้าสู่โรงพยาบาล เนื่องจากยาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพทั้งในด้านประสิทธิผล (Efficacy) และความปลอดภัย (Safety) ในการรักษา ดังนั้นปัจจัยสำคัญที่จะต้องพิจารณาเป็นอันดับแรกในกระบวนการคัดเลือกเภสัชภัณฑ์เข้าสู่โรงพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุขคือคุณภาพ (Quality) ของเภสัชภัณฑ์ที่ช่วยยืนยันประสิทธิผลและความปลอดภัยในการใช้ยานั้นๆ

ข้อกำหนดมาตรฐานด้านคุณภาพยา (Drug Specification) เป็นข้อมูลสำคัญจากผู้ผลิตที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของเภสัชภัณฑ์ รวมถึงเอกสารต่างๆอาทิเช่น ใบรับรองผลการทดสอบเภสัชวิเคราะห์ (Certificate of Analysis) ข้อมูลความคงตัว (Stability Data) ล้วนเป็นเอกสารสำคัญที่บ่งชี้ถึงคุณภาพเภสัชภัณฑ์ นอกจากนี้การคัดเลือกเภสัชภัณฑ์เข้าโรงพยาบาลในปัจจุบันยังมีการพิจารณาถึง Price Performance ซึ่งการจัดทำและการประเมินข้อมูลดังกล่าวต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในองค์ความรู้ทางเภสัชศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถตอบโจทย์คุณภาพของเภสัชภัณฑ์สามารถจัดหายาที่ได้คุณภาพมาตรฐานในงบประมาณที่สมเหตุสมผลได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตั้งแต่เภสัชกรโรงพยาบาลผู้ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวข้องในการคัดเลือกเภสัชภัณฑ์เข้าโรงพยาบาล เภสัชกรในภาคอุตสาหกรรมยา ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาครัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแล ต้องมีความเข้าใจในด้านคุณภาพยาเพื่อให้เภสัชภัณฑ์ที่มีมาตรฐานไปถึงมือผู้ป่วยในราคาที่เหมาะสม

ตั้งแต่ปี 2557 คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัดประชุมวิชาการด้านคุณภาพมาทั้งหมดสิบครั้ง ทั้งในรูปแบบ on-site และ online ซึ่งการประชุมทั้งสิบครั้งได้รับผลการตอบรับจากผู้เข้าร่วมอบรมอย่างดีเยี่ยม จึงเป็นแรงผลักดันให้เกิดการจัดประชุมวิชาการขึ้นเป็นครั้งที่ 11 ด้วยเล็งเห็นถึงความต้องการจากเภสัชกรผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนคัดเลือกเภสัชภัณฑ์เข้าสู่โรงพยาบาล ประกอบกับสถานการณ์ COVID-19 ที่บรรเทาลง ทางผู้จัดจึงได้ดำเนินการในรูปแบบ onsite ตามที่ได้มีการประชาสัมพันธ์ โดยมุ่งหวังว่าการประชุมวิชาการในครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพเภสัชภัณฑ์ในระบบยาของประเทศ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เภสัชกรและผู้สนใจเข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในมาตรฐานเภสัชภัณฑ์ เข้าใจในการแปลผลใบรับรองผลการทดสอบเภสัชวิเคราะห์ และ มีความเข้าใจข้อมูลทางด้านคุณภาพยาอย่างถูกต้อง
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ของหน่วยการศึกษาต่อเนื่อง ฝ่ายพัฒนาวิชาการและวิชาชีพ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (www.ce.pharm.chula.ac.th) โทรศัพท์ 02-218-8283 หรือ E-mail: CE@pharm.chula.ac.th โดยมีอัตราค่าลงทะเบียนดังนี้ • หน่วยงานภาครัฐ o ชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 28 ตุลาคม 2565 ท่านละ 5,000 บาท o ชำระค่าลงทะเบียนหลังวันที่ 28 ตุลาคม 2565 ท่านละ 5,500 บาท • หน่วยงานภาคเอกชน o ชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 28 ตุลาคม 2565 ท่านละ 6,500 บาท o ชำระค่าลงทะเบียนหลังวันที่ 28 ตุลาคม 2565 ท่านละ 8,000 บาท