ชื่อการประชุม |
 |
(Online)“Dyspepsia and Constipation Management in Community Pharmacy” |
สถาบันหลัก |
 |
เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
รหัสกิจกรรม |
 |
2001-2-000-063-10-2565 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
ถ่ายทอดสด |
วันที่จัดการประชุม |
 |
09 ต.ค. 2565 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
เภสัชกร และบุคคลทั่วไป |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
1 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผลของโครงการ
เภสัชกรมีบทบาทสำคัญในการใช้บริบาล และส่งเสริมการเข้าถึงยาและบริการสุขภาพให้แก่ประชาชนทั้งในบริบทของสถานพยาบาล และร้านขายยา เภสัชกรจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีองค์ความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับการประเมินอาการ และความรุนแรงของโรค รวมถึงการเลือกใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ช่วยแก้ปัญหาให้กับประชาชน ปัจจุบันโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน หรือสาเหตุของการเกิดโรคอื่นๆ พบได้บ่อยมาขึ้น และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นอาการอาหารไม่ย่อย หรืออาการท้องผูก เป็นต้น การดูแลรักษาอาการดังกล่าวอย่างถูกต้อง รับการดูแลที่ถูกต้อง เป็นอีกหนึ่งบทบาทที่เภสัชกรจะช่วยให้ความรู้ และให้คำแนะนำอย่างเหมาะสมในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน และการดูแลฟันปลอม
เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญ และจัดให้มีการอบรมวิชาการ ในหัวข้อ “Dyspepsia and Constipation Management in Community Pharmacy” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร ได้แก่ อาการอาหารไม่ย่อย อาการท้องผูก สาเหตุและปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรค แนวทางการรักษา หลักการเลือกใช้และให้คำแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาอาการอาหารไม่ย่อยและอาการท้องผูก รวมถึงการให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพทางเดินอาหารแบบองค์รวมเพื่อสุขภาพทางเดินอาหารและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วย
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
โรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร ได้แก่ อาการอาหารไม่ย่อย อาการท้องผูก
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจถึง ปัจจัยกระตุ้นและแนวทางการรักษาอาการอาหารไม่ย่อยและอาการท้องผูก
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจหลักการเลือกใช้และให้คำแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาอาการอาหารไม่ย่อยและอาการท้องผูก รวมถึงการให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพทางเดินอาหารแบบองค์รวม
คำสำคัญ
อาหารไม่ย่อย,อาการท้องผูก,ปัจจัยกระตุ้น
วิธีสมัครการประชุม
www.pat.or.th