การประชุมวิชาการ
งานประชุม หัวข้อ Pharmacogenomics in Cardiology : “The essentials for pharmacogenomics” ครั้งที่ 2 เรื่อง “Pharmacogenomics in Drug Allergy”
ชื่อการประชุม งานประชุม หัวข้อ Pharmacogenomics in Cardiology : “The essentials for pharmacogenomics” ครั้งที่ 2 เรื่อง “Pharmacogenomics in Drug Allergy”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รหัสกิจกรรม 1017-2-000-024-09-2565
สถานที่จัดการประชุม การบรรยายผ่าน Microsoft Team
วันที่จัดการประชุม 30 ก.ย. 2565
ผู้จัดการประชุม ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร ฝ่ายเภสัชกรรม แผนกเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก แผนกเภสัชกรรมผู้ป่วยใน แผนกเภสัชกรรมคลินิก
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
พันธุกรรมของแต่ละบุคคลแตกต่างกัน ดังนั้นการตอบสนองต่อยา ความไวต่อยา และการเกิดพิษจากยาของแต่ละบุคคล จึงแตกต่างกัน เภสัชพันธุศาสตร์ (Pharmacogenomics) เป็นศาสตร์ในการนําข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์มาใช้ประกอบการตัดสินใจ ในการใช้ยา ซึ่งจะทําให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุดในการใช้ยาบําบัดรักษา คลินิกเภสัชพันธุศาสตร์ (Pharmacogenomics Clinic) ของโรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ ฯ ได้เปิดบริการตั้งแต่ปี 2563 เพื่อให้คําแนะนําปรึกษาเกี่ยวกับการ ใช้องค์ความรู้ทางด้านเภสัชพันธุศาสตร์ในเชิงคลินิก และมีบทบาทสําคัญในการทําความเข้าใจกับแพทย์และผู้ป่วยถึงผลการตรวจ ผลการดําเนินงานในปี 2563-2564 พบว่าการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ช่วยป้องกันการแพ้ยารุนแรงที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง เช่น ยากันชัก Carbamazepine และ ยาลดกรดยูริก Allopurinol ได้ถึง 43 ราย รวมทั้งป้องกันอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาอื่น ๆ ได้อีกกว่า 200 ราย ด้วยพันธกิจของโรงพยาบาลที่มุ่งสร้างประสบการณ์การรักษาพยาบาลและบริการที่ทันสมัยด้วยนวัตกรรม และปณิธานทางด้านความปลอดภัยคือหัวใจในการดูแลผู้ป่วย การให้ความรู้ทางด้านเภสัชพันธุศาสตร์แก่เภสัชกรผู้ปฏิบัติงาน ทั่วไปให้สามารถบูรณาการวิทยาการใหม่จึงเป็นประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยให้ครอบคลุมมากขึ้น
ความปลอดภัยในการใช้ยาของผู้ป่วยถือเป็นบทบาทความรับผิดชอบของเภสัชกรทุกคน เพื่อพัฒนาเภสัชกรให้มีองค์ความรู้ ทางด้านเภสัชกรรมที่ก้าวทันวิทยาการโลก จึงเป็นที่มาของการจัดอบรมหลักสูตร เภสัชพันธุศาสตร์ในโรคหัวใจและหลอดเลือด : หลักการพื้นฐานและการประยุกต์ใช้ (Pharmacogenomics in Cardiology : The fundamentals and Applications)
วัตถุประสงค์
1. มีความรู้และความเข้าใจความหมายคําศัพท์เฉพาะ (Terminology) และหลักการพื้นฐานของการตรวจทางเภสัช พันธุศาสตร์ (Pharmacogenomics)
2. มีความรู้และความเข้าใจ บูรณาการความรู้และวิทยาการสมัยใหม่เพื่อการดูแลผู้ป่วย สามารถนําไปประยุกต์ใช้ใน การให้คําแนะนําเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับการตรวจยีนแพ้ยาและการตรวจยีนที่ทําหน้าที่เปลี่ยนแปลงยา
3. มีความรู้และความเข้าใจหลักการตรวจยีนเพื่อประเมินการตอบสนองต่อยาในกลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจ (CYP2C9, CYP2C19, VKORC1, SLCO1B1) โดยสามารถแปลผลเบื้องต้นได้
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ลงทะเบียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยแจ้งผ่านผู้จัดการอบรม คุณอมรรัตน์ จงสวัสดิ์วรกูล เบอร์โทรศัพท์: 02-011-4710 E-mail: amornratc@bumrungrad.com