การประชุมวิชาการ
การประชุมวิสามัญ สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประทศไทย) และ งานวันเภสัชกรโลกและสัปดาห์เภสัชกรรมประจำปี 2565
ชื่อการประชุม การประชุมวิสามัญ สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประทศไทย) และ งานวันเภสัชกรโลกและสัปดาห์เภสัชกรรมประจำปี 2565
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2002-2-000-018-09-2565
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องแกรนด์ฮอลล์ 203 ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค
วันที่จัดการประชุม 25 ก.ย. 2565
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย สมาชิกสมาคมเภสัชกรรมชุมชนและ เภสัชกรชุมชนที่สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
International Pharmaceutical Federation (FIP) หรือสหพันธ์เภสัชนานาชาติ กำหนดให้วันที่ 25 กันยายน เป็นวันเภสัชกรโลก โดยในปีนี้ FIP ขอให้เภสัชกรแสดงพลังโดยร่วมกันรณรงค์ตามหัวข้อที่ว่า “Pharmacy united in action for a healthier world” หรือ “รวมพลังเภสัชกร ร่วมสร้างโลกแห่งสุขภาวะ”

สภาเภสัชกรรม, เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์(ภสท) สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) และสมาคมเครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรม จึงร่วมกันจัดกิจกรรมรวมถึงประชาสัมพันธ์งานวันเภสัชกรโลกซึ่งจะจัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมไบเทค บางนา ในวันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2565 และเชิญชวนเภสัชกรทุกสาขาร่วมกันจัดกิจกรรม“สัปดาห์เภสัช” ระหว่างวันที่ 26-30 กันยายน เพื่อให้ประชาชนทราบถึงบทบาท กิจกรรมและหน้าที่ของเภสัชกรในการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับบุคคลากรทางสาธารณสุข ความสำคัญของเภสัชกรที่มีต่อการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ที่ผ่านมา

การประชุมครั้งนี้ยังมุ่งเน้นการปฏิบัติหน้าที่ของเภสัชกรในร้านยาซึ่งเป็นบุคคลากรด่านหน้าทางด้านสาธารณสุขที่ต้องพบและให้คำปรึกษาผู้ป่วย นอกจากนี้ร้านยายังต้องดำเนินธุรกิจควบคู่กับบทบาททางวิชาชีพ โดยการดำเนินธุรกิจร้านยาโดยเภสัชกรนั้น ในส่วนการศึกษาในคณะเภสัชศาสตร์ของทุกสถาบัน ณ ปัจจุบัน ไม่ได้เน้นการเรียนการสอนในส่วนการประกอบธุรกิจด้วย แต่ในความเป็นจริงการประกอบธุรกิจร้านยา จำเป็นต้องอาศัยทักษะอื่นๆในการดำเนินกิจการ อาทิเช่น ทักษะและความเข้าใจในการบริหารสต็อกสินค้า ทักษะการสื่อสารให้ผู้ป่วยเข้าใจและให้ความร่วมมือในการรักษาโรค ทักษะในการต่อยอดธุรกิจในลักษณะเชิงวิชาชีพ ทักษะในการหาเครือข่ายในการดำเนินธุรกิจของตนเอง และทักษะการพัฒนาตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะต่างๆเหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่อการบริหารจัดการธุรกิจร้านยา ให้ควบคู่ไปกับการทำงานด้านวิชาชีพ

โดยการพัฒนาตนเองอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องเกิดจากการบริหารจัดการตนเองส่วนบุคคล มีการวางแผนตารางชีวิตประจำวัน การบริหารจัดการเวลา การบริหารทรัพยากรบุคคล และมีการจัดระเบียบงานและกิจกรรมในแต่ละวันอย่างชาญฉลาด โดยอาศัยความสมดุลระหว่างสุขภาพของตนเอง การใช้ชีวิต และการเติบโตของธุรกิจไปควบคู่กันด้วย สิ่งเหล่านี้มีหลักการในการจัดการและมีตัวอย่างในการจัดการอยู่เราสามารถนำหลักการนั้นมาประยุกต์ใช้ จากนั้นจึงมีการตั้งเป้าหมายและนำแผนทั้งหมดมาดำเนินการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้นๆ

สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) จึงเล็งเห็นว่าเภสัชกรชุมชน ต้องมีความเข้มแข้งทั้งด้านธุรกิจและวิชาชีพเภสัชกรรม จึงได้จัดปประชุมให้ความรู้ในเรื่องวิธีบรรลุเป้าหมายที่ต้องการอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งจัดประชุมวิชาการส่งเสริมองค์ความรู้ในเรื่องอาการของโรคนอนไม่หลับ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่เข้ารับบริการทางสาธารณสุขในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับร้านขายยา คลินิก จนถึงโรงพยาบาลระดับต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จะมีอุบัติการณ์ของโรคหรือภาวะนอนไม่หลับ หรือนอนหลับยากมากขึ้น การให้บริการให้การรักษาแนะนำเบื้องต้นให้กับผู้ป่วยนั้นจึงมีความจำเป็น

นอกจากนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน จากระบบการเฝ้าระวังสายพันธุ์ ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระหว่างวันที่ 25 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2565 พบว่า โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 ในประเทศไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และอาจเข้ามาแทนที่สายพันธ์เดิม โดยจากการสุ่มตรวจทั้งหมด 946 ตัวอย่าง พบ BA.4 และ BA.5 ทั้งหมด 489 ราย คิดเป็น 51.7% การเปลี่ยนแปลงยีนโปรตีนของเชื้อทำให้สามารถหลบภูมิคุ้มกัน เกิดการติดเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์เดิม แพร่กระจายได้เร็วกว่าเดิม โดยอาการที่พบมากกว่า 50% ของผู้ป่วย คือ อ่อนเพลีย ไอ ไข้ ปวดศีรษะ น้ำมูกไหล และ เจ็บคอ นอกจากนี้ เมื่อหายจากการติดเชื้อ โควิด-19 ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะเกิด Post COVID syndrome หรือภาวะ Long COVID เนื่องจากมีการอักเสบจากการติดเชื้อโควิด-19 นอกจากการดูแลรักษาร่างกายให้กลับมาแข็งแรง การดูแลบรรเทาหรือรักษาอาการให้เฉพาะเจาะจง เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดียิ่งขึ้น

การดูแลผู้ป่วยโควิด-19 เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญสำหรับชุมชน ประชาชนที่ประสบปัญหาเหล่านี้จึงมาใช้บริการที่ร้านขายยา ที่สามารถให้การดูแลเบื้องต้น ด้วยการจ่ายยา และ/หรือให้คำแนะนำเบื้องต้นกับผู้ป่วย มีส่วนสำคัญช่วยแบ่งเบาภาระทางสาธารณสุขของประเทศ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อร่วมรณรงค์ให้เภสัชกรไทยเรียนรู้บทบาทวิชาชีพเภสัชกรรมในต่างประเทศ และนำมาประยุกต์ พัฒนาการทำงานในบริบทของประเทศไทย
2.ทราบแนวทางนโยบายการดำเนินงานทางวิชาชีพของเภสัชกรรมในช่วงหลังการระบาดใหญ่ของ Covid-19
3.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถวางแผนการพัฒนาธุรกิจร้านยาให้ควบคู่ไปกับการดำเนินกิจกรรมทาง
วิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจการวางแผนการใช้ชีวิตควบคู่ไปกับการทำธุรกิจได้อย่างมีความสุข
3.เพื่อให้เภสัชกรมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนอนไม่หลับและภาะ Long Covid
4.เพื่อให้เภสัชกรเล็งเห็นถึงความสำคัญในการให้คำปรึกษาเชิงลึกกับคนไข้ ในแง่ของการปรับพฤติกรรม
5.เพื่อให้เภสัชกรสามารถเลือกใช้ยา หรือ ผลิตภัณฑ์ในการป้องกันและรักษาโรคเกี่ยวกับโรคนอนไม่หลับ และให้คำปรึกษาได้อย่างเหมาะสม
6.เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ ความชำนาญ การให้บริการและคำแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ
แก่ผู้ประกอบการร้านยาและเภสัชกรผู้ปฎิบัติหน้าที่ในร้านขายยา
7.เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารและรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ
8.เพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างเหมาะสมและสมเหตุผลในร้านขายยา
คำสำคัญ
การบริหารจัดการร้านยา, นอนไม่หลับ,สุขภาพองค์รวม,Post COVID syndrome
วิธีสมัครการประชุม
https://zoom.us/webinar/register/WN_oG_Duz0ZSt-3t4sddtGo4Q