การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมวิชาการ ประจำปี 2565 เรื่อง เปิดประตูสู่มิติความรู้เภสัชกรชุมชน ตอน กิน อยู่ อย่างไร ให้ปลอดภัย และห่างไกลภาวะลองโควิด
ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการ ประจำปี 2565 เรื่อง เปิดประตูสู่มิติความรู้เภสัชกรชุมชน ตอน กิน อยู่ อย่างไร ให้ปลอดภัย และห่างไกลภาวะลองโควิด
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-038-08-2565
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมแกรนด์เซ็นเตอร์พอยท์ เทอร์มินัล 21 ชั้น C ห้องประชุมแกรนด์บอลลรูม
วันที่จัดการประชุม 21 ส.ค. 2565
ผู้จัดการประชุม กลุ่มเครือข่ายเภสัชกรร้านยาไอแคร์ ฟาร์แมกซ์ ไวตามินคลับ ซุปเปอร์ดรัก
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรร้านยา และเภสัชกรที่สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 7.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ร้านยาเป็นหน่วยให้บริการด้านสุขภาพที่ใกล้ชิดกับประชาชน เภสัชกรชุมชนซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำร้านยาจึงต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอเพื่อให้มีองค์ความรู้ที่ทันสมัย เป็นปัจจุบัน สามารถนำมาประยุกต์ใช้ประกอบการประเมินความผิดปกติทางกายและสุขภาพจิตใจของผู้ป่วยหรือผู้มารับบริการ และพิจารณาเลือกจ่ายยาหรือให้คำแนะนำที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยหรือผู้มารับบริการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ตามหลักวิชาการและการบริบาลผู้ป่วยในร้านยา นอกจากนี้ในสภาวการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งแม้ว่าความรุนแรงขณะที่มีอาการป่วยเฉียบพลันจะมีแนวโน้มลดลง แต่กลับพบรายงานภาวะ post-acute and long-term complication of COVID-19 หรือที่รู้จักโดยทั่วไปคือภาวะลองโควิด (long-COVID) เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การป้องกันการติดต่อโรคโควิด-19 และการดูแลฟื้นฟูสุขภาพทั้งก่อนและหลังการเป็นโรค จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
บริษัท ไอแคร์ เฮลท์ จำกัด จึงดำเนินการจัดโครงการประชุมวิชาการ ประจำปี 2565 ขึ้นภายใต้หัวข้อ “กิน อยู่ อย่างไร ให้ปลอดภัย และห่างไกลภาวะลองโควิด” ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับภาวะลองโควิดในผู้ป่วยทั่วไปและผู้ป่วยกลุ่มพิเศษคือเด็กและผู้สูงอายุ การฟื้นฟูสุขภาพโดยวิตามินและผลิตภัณฑ์สุขภาพต่าง ๆ และการดูแลรักษาอาการเจ็บป่วยที่พบได้บ่อยขึ้นในปัจจุบัน โดยหวังว่าโครงการประชุมวิชาการในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับเภสัชกรที่ปฏิบัติงาน ณ บริษัท ไอแคร์ เฮลท์ จำกัด และเภสัชกรทั่วไปที่สนใจ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อฟื้นฟูความรู้ และส่งเสริมทักษะทางวิชาชีพของเภสัชกรที่เข้าร่วมการประชุมวิชาการ
2. เพิ่มความดูแลเอาใจใส่ผู้มารับบริการซึ่งเป็นคนในชุมชนในบริเวณที่ร้านยาตั้งอยู่ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และตรงกับความต้องการของผู้มารับบริการและชุมชนเพิ่มขึ้น
3. เพื่อให้เภสัชกรที่ปฏิบัติงานประจำร้านขายยา สามารถนำองค์ความรู้และทักษะต่างๆ จากโครงการฯ นี้ไปใช้ประกอบการตัดสินใจการประเมินอาการวิทยาต่างๆ ที่พบ การพิจารณาเลือกจ่ายยาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม แนะนำวิธีการใช้ยาที่ถูกต้องกับลักษณะอาการผิดปกติต่างๆ และสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้มารับบริการได้อย่างเหมาะสมต่อไป
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
1. ทางโทรศัพท์ 02-1572704 และหรือ 081-1138450 2. Facebook ที่ https://www.facebook.com/pharmaxshop 3. Line: @pharmaxshop.com