การประชุมวิชาการ
Common Musculoskeletal Disorders : Basic Diagnosis and Management Approach
ชื่อการประชุม Common Musculoskeletal Disorders : Basic Diagnosis and Management Approach
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2002-2-000-015-08-2565
สถานที่จัดการประชุม ออนไลน์ ระบบZoom
วันที่จัดการประชุม 04 ส.ค. 2565
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย สมาชิกสมาคมเภสัชกรรมชุมชนและ เภสัชกรชุมชนที่สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ปวดกล้ามเนื้อ เป็นอาการนำที่ทำให้ผู้ป่วยส่วนหนึ่งมาพบเภสัชกรที่ร้านยา ซึ่งอาการปวดกล้ามเนื้ออาจร่วมกับอาการ บ่อยครั้งที่เภสัชกรให้การวินิจฉัยโรคหรือวินิจฉัยแยกโรคเบื้องต้น เช่น muscle strain , myofascial pain syndrome , fibromyalgia เป็นต้น หากมีอาการเจ็บใกล้บริเวณเอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) มักนึกถึงเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ (tendinitis) ซึ่งมักเกิดจากการใช้งานซ้ำๆ เช่น rotator cuff syndrome , back pain หรืออาการปวดที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัดของอุปกรณ์ในการตรวจ หรือทักษะในการซักประวัติผู้ป่วยในร้านยา อาจทำให้เกิดการวินิจฉัยที่คลาดเคลื่อน ส่งผลให้การเลือกใช้ยาต่อผู้ป่วยไม่เหมาะสมกับโรคหรือความผิดปกตินั้น

ดังนั้นแนวทางในการซักประวัติผู้ป่วย การวินิจฉัยแยกโรคเบื้องต้นเกี่ยวกับความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อเบื้องต้น รวมถึงแนวทางในการรักษาด้วยการใช้ยาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ยาแก้ปวดกลุ่ม Opioid, NSAIDs , Muscle relaxant จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เภสัชกรควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เพื่อที่จะสามารถให้คำปรึกษาเรื่องการดูแลและการเลือกใช้ยา รวมถึงส่งต่อผู้ป่วยไปพบแพทย์ เพื่อป้องกันอาการการดำเนินไปของอาการปวดเรื้อรัง รวมถึงหลักฐานเชิงประจักษ์สำหรับยาคลายกล้ามเนื้อ Orphenadrine ร่วมกับยาแก้ปวดอื่นๆ ได้แก่ Paracetamol , NSAIDs , Weak Opioid และยาอื่นๆ ในข้อบ่งใช้ที่เกี่ยวกับโรคที่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อหดเกร็งที่พบได้บ่อยในร้านยา ทั้งในแง่ประสืทธิภาพ ความปลอดภัยและด้านคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้เภสัชกรร้านยามีความรู้ความเข้าใจถึงอุบัติการณ์โรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของอาการปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อล้า กล้ามเนื้อเกร็ง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ที่สามารถพบได้บ่อยๆ ที่พบได้ในร้านยา และสามารถจัดการในการรักษาหรือส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
2.เพื่อให้เภสัชกรร้านยาทราบถึงแนวทางในการวินิจฉัยแยกโรคเบื้องต้น เพื่อสามารถเลือกใช้ยาในการ
รักษาได้อย่างเหมาะสมทั้งในด้านประสิทธิภาพ ความปลอดภัยต่อผู้ป่วย รวมถึงแนวทางปฏิบัติ อื่นๆ
3.เพื่อให้เภสัชกรมีความรู้ความเข้าใจบทบาทของยาแก้ปวด paracetamol และยาคลายกล้ามเนื้อ ในข้อบ่งใช้ต่างๆ ที่มีโอกาสได้พบได้บ่อยๆในร้านขายยา
คำสำคัญ
อาการปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อล้า กล้ามเนื้อเกร็ง กล้ามเนื้ออ่อนแรง
วิธีสมัครการประชุม
https://zoom.us/webinar/register/WN_oRGDdvYTS5evJPlcp0s-ow