ชื่อการประชุม |
 |
(online) Outsource Qualification |
สถาบันหลัก |
 |
สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย) |
รหัสกิจกรรม |
 |
2004-2-000-018-09-2565 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
ZOOM Application |
วันที่จัดการประชุม |
 |
27 ก.ย. 2565 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย) |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
บุคลากรที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานใน ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายประกันคุณภาพ และฝ่ายจัดซื้อในอุตสาหกรรมยา ทั้งที่อยู่ในโรงงานยา สถานที่นำสั่งยา และสถานที่กระจายยา |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
2 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
อุตสาหกรรมยา ตั้งแต่การผลิตยา นำสั่งยาไปจนถึงกระจายยานั้น มีกิจกรรมบางอย่างที่ ผู้ประกอบการทั้ง ผู้ผลิต ผู้นำสั่งยา หรือผู้กระจายยา ไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ซึ่งเนื่องจากเหตุผลในแง่ที่ ขาดความรู้ความชำนาญในการทำกิจกรรมนั้น ๆ หรือแม้กระทั่งที่ว่าขาดความคุ้มทุนทางการเงินในการลงทุนทำด้วยตัวเอง จึงต้องทำการจ้างกิจกรรมเหล่านี้ไปยัง Outsource ที่มีความรู้ความชำนาญ และมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า การเลือกและประเมิน outsource มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยการทำ Outsource Qualification เพื่อเลือกว่า Outsource เหล่านี้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด รวมถึงการจัดทำข้อตกลงร่วมกับ Outsource ก็เป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญที่จะต้องกำหนดให้ชัดเจน GMP และ GDP ของ PIC/S ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยานำมาประกาศเป็นข้อกำหนดผู้ผลิตยา รวมถึงข้อกำหนด GDP สำหรับนำสั่งและกระจายยาในประเทศไทย โดยกำหนดหน้าที่ของผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง นอกจากนี้การจัดการ Outsource ยังช่วยให้ผู้ประกอบการมั่นใจได้ว่า กิจกรรมที่เกิดขึ้นที่ Outsource จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อคุณภาพยา
วัตถุประสงค์
• เพื่อให้ทราบหลักการของการจัดทำแผนการทำ Qualification ของ Outsource โดยใช้ Risk Based Approach
• เพื่อเรียนรู้การทำ Questionnaire และ Technical Agreement ของการทำ Outsource Qualification จากตัวอย่างจริงที่มีการใช้ในอุตสาหกรรม
คำสำคัญ
Outsource, Outsource Qualification, GDP, GMP
วิธีสมัครการประชุม
สมัครทางออนไลน์ได้ที่ http://tipa.or.th/tipa/register/
ค่าลงทะเบียน :
สมาชิก TIPA คนละ 535 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 %)
บุคคลทั่วไป คนละ 856 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 %)
วิทยากร : อาจารย์ ภก.ประเสริฐ เลิศเลอพันธ์ คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
เภสัชกรที่เข้าร่วมอบรมและผ่านการทดสอบจะได้ 2 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง