การประชุมวิชาการ
โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มพูนศักยภาพนักวิจัย ประจำปี 2565 กิจกรรมที่ 2 เรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพ การศึกษาในเซลล์เพาะเลี้ยง
ชื่อการประชุม โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มพูนศักยภาพนักวิจัย ประจำปี 2565 กิจกรรมที่ 2 เรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพ การศึกษาในเซลล์เพาะเลี้ยง
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รหัสกิจกรรม 1017-2-000-016-07-2565
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 7 และ ห้องปฏิบัติการชั้น 9 - 10 อาคารเรียนและปฏิบัติการรวม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
วันที่จัดการประชุม 20 -22 ก.ค. 2565
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กลุ่มเป้าหมาย อาจารย์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เภสัชกร และนักวิจัย
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 12.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันรัฐบาลมุ่งส่งเสริมนวัตกรรม ที่สร้างสรรค์มาจากงานวิจัย เพื่อนำมาผลิตเป็นสินค้าสำหรับจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งงานวิจัยที่จะนำมาใช้ได้จริงนั้น จะต้องมีการประเมินประสิทธิผลทั้งในหลอดทดลอง และในสัตว์ทดลอง อย่างไรก็ตามเพื่อลดการใช้สัตว์ทดลอง จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องประเมินความเป็นพิษ และทดสอบประสิทธิภาพในเซลล์เพาะเลี้ยง
หน่วยงานซึ่งรับผิดชอบด้านการวิจัย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจะได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มพูนศักยภาพนักวิจัยขึ้น เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การประเมินประสิทธิผลของเภสัชภัณฑ์ที่เตรียมขึ้น ในเซลล์เพาะเลี้ยง เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่นักวิจัย นักศึกษา และเป็นการฟื้นฟูความรู้ความเข้าใจในการประเมินประสิทธิผลของเภสัชภัณฑ์ให้แก่นักวิจัยที่มีพื้นฐานมาแล้ว นอกจากนี้ยังเป็นการทบทวนมาตรฐานในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยให้กับผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยทางเภสัชกรรมให้มีคุณภาพ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ส่งผลให้ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันทางการค้ากับต่างประเทศด้วยสินค้าที่เป็นนวัตกรรมจากงานวิจัยมากขึ้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักวิจัยสามารถปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการวิจัยชีวนิรภัยได้อย่างปลอดภัย
2. เพื่อให้นักวิจัยได้มีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการศึกษาในเซลล์เพาะเลี้ยงเพื่องานวิจัยทางเภสัชศาสตร์
3. เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่นักศึกษา ผู้สนใจ และเป็นการฟื้นฟูความรู้ความเข้าใจเรื่องการศึกษาในเซลล์เพาะเลี้ยงให้แก่นักวิจัย
คำสำคัญ
ความปลอดภัยทางชีวภาพ การเพาะเลี้ยงเซลล์