ชื่อการประชุม |
 |
(online) Environmental monitoring program in pharma |
สถาบันหลัก |
 |
สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย) |
รหัสกิจกรรม |
 |
2004-2-000-013-07-2565 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
ZOOM Application |
วันที่จัดการประชุม |
 |
12 ก.ค. 2565 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย) |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
บุคลากรที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานใน ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฝ่ายผลิต ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายควบคุมคุณภาพ และผู้สนใจ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
1.5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
สภาวะแวดล้อมของสถานที่ผลิตมีความสำคัญต่อคุณภาพของยาที่ผลิต ต้องมีมาตรการปกป้องในกระบวนการผลิต ให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุดที่จะเป็นสาเหตุการปนเปื้อนของ วัตถุตั้งต้น (starting material) วัสดุการบรรจุ (packaging material) และผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะการผลิตยาปราศจากเชื้อ การควบคุมสภาวะแวดล้อมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจติดตามเป็นระยะ (monitoring) โดยพิจารณาจากการประเมินความเสี่ยง (risk assessment) ของการปนเปื้อน ในการกำหนดแผนการสุ่มตัวอย่าง ตำแหน่งที่สุ่ม และการแปรผลที่ได้จากการตรวจติดตาม วิเคราะห์แนวโน้มการปนเปื้อน (trend analysis) วิเคราะห์หาสาเหตุการปนเปื้อนที่เกินข้อกำหนด (root cause analysis) การจัดการแก้ไข และปฏิบัติการป้องกัน (Corrective Action Preventive Action; CAPA) การติดตามประสิทธิผลของ CAPA กระบวนการเหล่านี้ต้องออกแบบและนำไปปฏิบัติอย่างเป็นระบบ
วัตถุประสงค์
• เพื่อให้ทราบข้อกำหนด GMP ในการควบคุมสภาวะแวดล้อม ( environmental monitoring )
• เพื่อเรียนรู้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่ถูกต้อง เหมาะสม
• เพื่อเรียนรู้การแปรผลการตรวจติดตามสภาวะแวดล้อม
คำสำคัญ
Environmental monitoring program, การปนเปื้อน, risk assessment, root cause analysis, Corrective Action Preventive Action, CAPA
วิธีสมัครการประชุม
ลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ http://tipa.or.th/tipa/register/
Mr. Kenny Tay
South East Asia Biomonitoring Regional Marketing Manager
Merck Pte Ltd, Singapore
เภสัชกรที่เข้าร่วมอบรมและผ่านการทดสอบจะได้ 1.5 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง