ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง Good Pharmacovigilance Practice for Pharmaceutical Industry 2022
ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง Good Pharmacovigilance Practice for Pharmaceutical Industry 2022
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-028-06-2565
สถานที่จัดการประชุม
วันที่จัดการประชุม 26 พ.ค. 2565 - 20 ส.ค. 2565
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 26.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศหลักเกณฑ์การติดตามผลิตภัณฑ์ยาตามลักษณะความเสี่ยง (risk based safety monitoring program -SMP) ให้ผู้รับอนุญาตในอุตสาหกรรมยาปฏิบัติตามโดยมีรายละเอียดและความเข้มงวดแตกต่างตามความเสี่ยงของยาใหม่ที่ได้รับอนุญาตจำหน่ายในท้องตลาด ในประกาศนี้ยังระบุให้บริษัทยาต้องมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบงานเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาขึ้นมาโดยเฉพาะ (contact person for pharmacovigilance) ทำหน้าที่รับผิดชอบประสานงานข้อมูลความปลอดภัยของยา สามารถประเมินประโยชน์และความเสี่ยงของยา รวมทั้งเสนอมาตราการลดความเสี่ยงของยาได้ โดยผู้รับผิดชอบงานควรมีคุณสมบัติผ่านการอบรมการรายงานเหตุการณ์ไม่พึ่งประสงค์ หรือมีความรู้พื้นฐานของงานเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยา หรือมีหลักฐานยืนยันว่ามีคุณสมบัติดังกล่าว
นอกจากนี้ ในปีพ.ศ. 2560 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกประกาศแนวทางแผนจัดการความเสี่ยง (risk management plan -RMP) ด้านยาสำหรับยาชีววัตถุที่ได้รับทะเบียนและรวมถึงยา biosimilar ด้วย ประกาศทั้งสองฉบับนี้ มีผลโดยตรงต่อเจ้าหน้าที่หรือเภสัชกรผู้ปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบการรวบรวมข้อมูลและจัดเตรียมเอกสารนำส่ง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
จากผลการสำรวจความต้องการของผู้ประกอบการจำนวน 70 ราย ในหัวข้องาน Pharmacovigilance เมื่อเดือน มกราคม พ.ศ. 2565 สรุปได้ว่า ผู้ประกอบการต้องการให้มีการจัดสัมมนาวิชาการที่ครอบคลุม Good pharmacovigilance practice for pharmaceutical industry และให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปฏิบัติตามประกาศของสำนักงานคณะกรรามการอาหารและยา เรื่อง risk-based SMP และ การจัดเตรียม RMPที่เกี่ยวข้อง ของผู้ที่เกี่ยวข้อง
ในการนี้ ภาควิชาเภสัชกรรมสังคมและบริหาร คณะเภสัชศาสตร์ ได้รวบรวมประเด็นที่อยู่ในความสนใจและเกี่ยวข้อง และนำเสนอการจัดอบรมวิชาการ เป็น 2 ส่วน โดยแต่ละส่วนใช้เวลา 2 วัน ทั้งนี้ในส่วนแรกจะครอบคลุมความรู้พื้นฐาน และส่วนที่สอง จะครอบคลุมความรู้แนวลึกและการลงมือปฏิบัติมากขึ้น โดยมีคณาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ผู้แทนจากสถานพยาบาล และบริษัทยา เข้าร่วมเป็นวิทยากรการบรรยาย และการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และได้รับความร่วมมือจากองค์กรวิชาชีพต่าง ๆ ได้แก่ วิทยาลัยการบริหารเภสัชกิจแห่งประเทศไทย สมาคมผู้วิจัยและผลิตผลิตภัณฑ์ สมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน สมาคมเภสัชกรรมทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์ และสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์
อธิบายความสำคัญและขอบเขต Pharmacovigilance (Good Pharmacovigilance practice)
2 อธิบายขอบเขต Regulatory requirement for Pharmacovigilance of post-market phase
3 อธิบายขอบเขต SMP (risk-based approach) และ การเตรียม protocol และ การนำไปใช้รวมถึงการจัดทำรายงาน เพื่อยื่นขอปลด SMP condition release
4 อธิบายขั้นตอนการเตรียม RMP
a. Biologics & Biosimilars (Vaccines)
b. Products with safety concerns
คำสำคัญ