ชื่อการประชุม |
 |
หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้น การวิจัยผลลัพธ์และประเมินนโยบายทางสุขภาพ โมดูล 1 |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา |
รหัสกิจกรรม |
 |
1011-2-000-003-06-2565 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา |
วันที่จัดการประชุม |
 |
16 -20 พ.ค. 2565 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
เป็นเภสัชกรเป็นผู้สําเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่ามีความสนใจในการพัฒนาทักษะการวิจัยด้านผลลัพธ์และประเมินนโยบายทางสุขภาพเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
30 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการวิจัยด้านยาและสุขภาพ มีส่วนสําคัญในการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพในการทํา วิจัยทั้งระดับองค์กรและบุคคล และเป็นองค์ประกอบที่สําคัญในการส่งเสริมและพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพ และ ยกระดับองค์ความรู้ทางทางยา รวมถึงทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในระบบของการผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งสอด รับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เน้นให้ บุคลากรมมีการทําวิจัย และกระทรวงสาธารณสุขที่ได้กระตุ้นและส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์ทําวิจัยและเผยแพร่ ผลงานวิจัย นอกจากนี้ มีการกําหนดให้บุคลากรสามารถขอรับการประเมินเพื่อเลื่อนตําแหน่งทางวิชาการในระดับ ชํานาญการ ชํานาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ โดยผู้ขอรับการประเมินต้องมีผลงานวิชาการในลักษณะงานวิจัยที่สัมพันธ์
หรือเกี่ยวข้องกับงานวิชาชีพของตนเพื่อพัฒนาสมรรถนะ ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพและประกอบการพิจารณาเพื่อเลื่อน ตําแหน่งที่สูงขึ้นและต่อไป
วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย สภาเภสัชกรรม ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จึงจัดหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้น การวิจัยผลลัพธ์และประเมินนโยบายทางสุขภาพเพื่อให้ บุคลากรทางการแพทย์และผู้สนใจ ได้ศึกษาเรียนรู้และเพิ่มประสบการณ์ทําวิจัย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการพัฒนาความรู้และ สมรรถนะของบุคลากรทางการแพทย์ พัฒนาบทบาทการปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรมในด้านวิจัยผลลัพธ์และประเมิน นโยบายทางสุขภาพเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนส่งเสริมการทําวิจัยและเรียนรู้ตลอดชีวิต อันจะเป็นประโยชน์ใน การสร้างในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ พัฒนาและสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เชิงระบบ เชิงกฎหมาย หรือแนว ปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคและระบบบริการสุขภาพต่อไป
วัตถุประสงค์
ออกแบบ วางแผน วิเคราะห์ ค้นหาสาเหตุ วางแผนดําเนินการวิจัย ติดตามผลการใช้ยา นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ และ เทคโนโยลีทางสุขภาพ โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านเภสัชศาสตร์ บูรณาการองค์ความรู้ด้านระบาดวิทยาที่เกี่ยวข้องเพื่อ พัฒนาและสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เชิงระบบ เชิงกฎหมาย หรือแนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อต่อ ผู้บริโภคและระบบบริการสุขภาพต่อไป
คำสำคัญ
การวิจัยด้านผลลัพธ์ทางสุขภาพ; การคุ้มครองผู้บริโภค
วิธีสมัครการประชุม
ผ่านทางเว็บไซต์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา