การประชุมวิชาการ
การประชุมเชิงปฏิบัติการเภสัชกรรมคลินิก ประจำปีงบประมาณ 2565 เรื่อง ชุดรายวิชาการวิเคราะห์ข้อมูลทางเภสัชศาสตร์ (Series of Data Analysis for Pharmaceutical Research) Series: 4
ชื่อการประชุม การประชุมเชิงปฏิบัติการเภสัชกรรมคลินิก ประจำปีงบประมาณ 2565 เรื่อง ชุดรายวิชาการวิเคราะห์ข้อมูลทางเภสัชศาสตร์ (Series of Data Analysis for Pharmaceutical Research) Series: 4
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รหัสกิจกรรม 1003-2-000-010-05-2565
สถานที่จัดการประชุม การประชุมออนไลน์
วันที่จัดการประชุม 28 -29 พ.ค. 2565
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กลุ่มเป้าหมาย 1. หัวหน้าฝ่ายเภสัชกรรมและเภสัชกรโรงพยาบาล 2. เภสัชกรที่สนใจ ในหน่วยงานของรัฐและเอกชน 3. คณาจารย์จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ จำนวนไ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 14.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันงานวิจัยมีบทบาทต่อการพัฒนางานของเภสัชกร ความต้องการในด้านองค์ความรู้ในการทำวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลมีสูงขึ้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพงาน นอกจากนี้ยังนำไปสู่การเผยแพร่ผลงานวิจัย การจัดการเรียนการสอนในชุดรายวิชาการวิเคราะห์ข้อมูลทางเภสัชศาสตร์นี้ แบ่งออกเป็น 5 ชุดวิชา ดังนี้
1. Series 1: Basic statistical fundamental and analysis using STATA program for pharmacist
ในชุดวิชานี้ เภสัชกรจะได้เรียนรู้การใช้โปรแกรม STATA version 14.0 การจัดการข้อมูลอย่างง่าย ตั้งแต่การลงข้อมูลจนสามารถอยู่ในรูปแบบที่วิเคราะห์ด้วยโปรแกรม STATA ได้ สถิติพื้นฐาน สถิติพรรณนา หลักการของสถิติอ้างอิง ทำความเข้าใจกับการกระจายของข้อมูล การเข้าใจ p-value, Type I,II error, confidence interval ตัวแปร การจัดการตัวแปรและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคำสั่งต่าง ๆ ของสถิติพรรณนา การตั้งตาราง การสร้างแผนภูมิ พร้อมทั้งการแปลผลที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อการเผยแพร่
2. Series 2: Basic Inferential statistical analysis and sample size estimation
ในชุดวิชานี้ เภสัชกรจะได้เรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติอ้างอิงแบบ univariable analysis ทั้งที่ ตัวแปรตามเป็นค่าต่อเนื่อง ได้แก่ Parametric statistics: T-test, ANOVA, Pearson’s correlation Non-parametric test: Mann-Whitney U test (ranksum test), Wilcoxon’s signed rank test, Kruskal-Wallis test และเป็นสัดส่วน ได้แก่ Chi-square test, Fisher’s exact test, McNemar’s test, Spearman rho correlation รวมถึงสถิติทีใช้ในการวิเคราะห์ความเชื่อมั่นในการพัฒนาเครื่องมือคือ Cronbach’s alpha โดยเน้นการเลือกสถิติ การใช้คำสั่งในการวิเคราะห์ การนำเสนอและการแปลผล การเขียนเพื่อเผยแพร่ ใน series นี้จะเพิ่มเนื้อหาสำคัญอีกหนึ่งเรื่องคือการคำนวณขนาดตัวอย่างในงานวิจัย
3. Series 3: Advance statistical analysis: Linear and repeated measure regression analysis
ในชุดวิชานี้ เภสัชกรจะได้เรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นที่สูงขึ้นเพื่อการตอบคำถามวิจัยที่ต้องใช้สถิติในการสร้างตัวแบบ (model) หรือสมการทำนาย หรือควบคุมอิทธิพลของปัจจัยกวนโดยการวิเคราะห์ที่ผลลัพธ์มีลักษณะเป็นค่าต่อเนื่องคือ Linear regression ทั้งที่เป็น univariable analysis และ multivariable analysis นอกจากการวิเคราะห์ อ่านผลการวิเคราะห์แล้วจะต้องฝึกการแปลผล การนำเสนอผลเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ และนอกจากนี้จะได้เรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลกรณีการวัดซ้ำหรือ repeated measures กรณีข้อมูลเป็นค่าต่อเนื่องและจะได้เรียนรู้การนำเสนอผลด้วยแผนภูมิอย่างเหมาะสม
4. Series 4: Advance statistical analysis for category data: Logistic, Poisson, survival analysis with repeated measure
ในชุดวิชานี้ เภสัชกรจะได้เรียนรู้การวิเคราะห์ที่ผลลัพธ์มีลักษณะเป็นสัดส่วนและอัตรา คือ สถิติ binary regression ในตระกูล risk และ odds (logistic), average rate (Poisson regression), การวิเคราะห์การรอดชีพ (survival analysis) ทั้งที่เป็น univariable analysis และ multivariable analysis นอกจากการวิเคราะห์ อ่านผลการวิเคราะห์แล้วจะต้องฝึกการแปลผล การนำเสนอผลเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ และนอกจากนี้จะได้เรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลกรณีการวัดซ้ำหรือ repeated measures กรณีข้อมูลเป็นสัดส่วนและจะได้เรียนรู้การนำเสนอผลด้วยแผนภูมิอย่างเหมาะสม
5. Series 5: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์อภิมาน และการวิเคราะห์อภิมานเครือข่าย (Systematic Review, Meta-Analysis and Network Meta-Analysis)
ปัจจุบันการดูแลผู้ป่วยจำเป็นต้องอาศัยหลักฐานเชิงประจักษ์และการสังเคราะห์องค์ความรู้ (knowledge synthesis in evidence-based practice) การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์อภิมาน และการวิเคราะห์อภิมานเครือข่าย (systematic review, meta-analysis, and network meta-analysis) เป็นกระบวนการวิจัยอย่างเป็นระบบเชิงปริมาณที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อลดอคติและข้อผิดพลาดเชิงสุ่ม โดยมีเป้าประสงค์หลัก คือ มุ่งเน้นหาข้อสรุปในการรักษา ตลอดจนเปรียบเทียบทางเลือก หรือมาตรการต่าง ๆ ในการรักษา เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการดูแลผู้ป่วย เภสัชกรผู้เข้าร่วมประชุมจะได้ฝึกปฏิบัติด้วยโปรแกรมทางสถิติ Stata version 14.0 ประกอบไปด้วยขั้นตอนเบื้องต้นในการการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ และการวิเคราะห์ทางสถิติ ซึ่งได้แก่ fixed and random effects models, assessing heterogeneity, bias and study quality, meta-regression, funnel plot, overview of meta-analysis on the prevalence and observational studies, frequentist methods in network meta-analysis, and interpreting results
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมฯ
1. มีความสามารถในการจัดการข้อมูลทางเภสัชศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานได้
2. มีความสามารถในการเลือกสถิติที่เหมาะสมเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นพื้นฐานทางเภสัชศาสตร์
3. มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นพื้นฐานทางเภสัชศาสตร์ได้
4. มีความสามารถในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานได้อย่างเหมาะสม
5. มีความรู้ความเข้าใจในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์อภิมาน และการวิเคราะห์อภิมานเครือข่ายและสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วย ตลอดจนปรับใช้ในการผลิตผลงานวิจัย
คำสำคัญ
งานวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลทางเภสัชศาสตร์ STATA
วิธีสมัครการประชุม
ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครเข้าร่วมงานประชุมได้ที่ https://cpe.pharmacy.cmu.ac.th/