การประชุมวิชาการ
(Online)"The Pharmacist's Role in the Management of MCI/dementia" บทบาทของเภสัชกรในการจัดการ อาการหลงลืม (MCI)/ภาวะสมองเสื่อม (dementia)
ชื่อการประชุม (Online)"The Pharmacist's Role in the Management of MCI/dementia" บทบาทของเภสัชกรในการจัดการ อาการหลงลืม (MCI)/ภาวะสมองเสื่อม (dementia)
สถาบันหลัก เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
รหัสกิจกรรม 2001-2-000-029-05-2565
สถานที่จัดการประชุม ถ่ายทอดสด
วันที่จัดการประชุม 08 พ.ค. 2565
ผู้จัดการประชุม เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรและบุคคลทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผลของโครงการ
เภสัชกรมีบทบาทสำคัญในการใช้บริบาล และส่งเสริมการเข้าถึงยาและบริการสุขภาพให้แก่ประชาชนทั้งในบริบทของสถานพยาบาล และร้านขายยา เภสัชกรจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีองค์ความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับการประเมินอาการ และความรุนแรงของโรค รวมถึงการเลือกใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพให้กับประชาชน โดยปัจจุบันพบผู้ป่วยที่มีภาวะความรู้คิดบกพร่อง หรือผิดปกติ ทางด้านของความจำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และมีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว การดูแลรักษาอาการดังกล่าว จึงต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค สาเหตุการเกิดโรค และแนวทางการรักษา รวมถึงการเลือกใช้ยาลที่เหมาะสมซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยควบคุมอาการและป้องกันการกำเริบ และส่งผลให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีดังเดิม
เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญ และจัดให้มีการอบรมวิชาการ ในหัวข้อ "The Pharmacist's Role in the Management of MCI/dementia" บทบาทของเภสัชกรในการจัดการ อาการหลงลืม (MCI)/ภาวะสมองเสื่อม (dementia) ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับอาการหลงลืม หรือภาวะสมองเสื่อม สาเหตุของของการเกิดโรค แนวทางการรักษา และการเลือกใช้ยาที่เหมาะสม รวมถึงบทบาทของเภสัชกรในให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการ อาการหลงลืม หรือภาวะสมองเสื่อม เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลรักษาผู้ป่วย ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและรักษามาตรฐานที่ดีในการให้บริบาลเภสัชกรรม
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินอาการ และอาการของ อาการหลงลืม (MCI)/ภาวะสมองเสื่อม (dementia)
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจถึง หลักการวินิจฉัยโรค และแนวทางรักษา อาการหลงลืม (MCI)/ภาวะสมองเสื่อม (dementia)
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจถึงบทบาทของเภสัชกรที่มีต่อการจัดการ อาการหลงลืม (MCI)/ภาวะสมองเสื่อม (dementia)
คำสำคัญ
อาการหลงลืม (MCI),ภาวะสมองเสื่อม (dementia)
วิธีสมัครการประชุม
www.pat.or.th