การประชุมวิชาการ
โครงการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบความถูกต้องของระบบคอมพิวเตอร์ในโรงงานอุตสาหกรรมยา ประจำปีงบประมาณ 2565
ชื่อการประชุม โครงการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบความถูกต้องของระบบคอมพิวเตอร์ในโรงงานอุตสาหกรรมยา ประจำปีงบประมาณ 2565
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รหัสกิจกรรม 1017-2-000-014-05-2565
สถานที่จัดการประชุม รูปแบบออนไลน์ผ่าน Zoom
วันที่จัดการประชุม 21 พ.ค. 2565
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตยา เภสัชกรทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 4.75 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ในการผลิตและควบคุมคุณภาพเภสัชภัณฑ์นั้น ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้อง (validation) ของกระบวนการต่าง ๆ เสมอ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าเภสัชภัณฑ์มีคุณภาพ มีประสิทธิผล มีความปลอดภัย และได้มาตรฐานตรงตามมาตรฐานสากล หลายกระบวนการต้องมีการตรวจสอบความถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น การตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการผลิต (production process validation) การตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ (analytical method validation) ความตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการทำความสะอาด (cleaning validation) รวมทั้งการตรวจสอบความถูกต้องของระบบคอมพิวเตอร์ (computerized systems validation) อันเป็นกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องที่ถือว่าค่อนข้างใหม่สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตยาในประเทศไทย ซึ่งโรงงานเหล่านี้เป็นแหล่งฝึกปฏิบัติวิชาชีพที่สำคัญยิ่งสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการให้บริการทางวิชาการเพื่อพัฒนาแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพและเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านวิชาการ รวมทั้งการพัฒนาบัณฑิตเภสัชศาสตร์ที่มีคุณภาพ ซึ่งในปัจจุบันนั้น โรงงานอุตสาหกรรมยาได้นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้มากขึ้นและปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีเหล่านั้นมีระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ ดังนั้น ทางสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การตรวจสอบความถูกต้องของระบบคอมพิวเตอร์ (Computerized system validation) ในปีงบประมาณ 2565 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในด้านการตรวจสอบความถูกต้องของระบบคอมพิวเตอร์ให้แก่บุคลากรในเครือข่ายแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ บุคลากรที่สนใจ รวมทั้งนักศึกษา ตลอดจนเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาความรู้ร่วมกันต่อไป
วัตถุประสงค์
1 เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในด้านการตรวจสอบความถูกต้องของระบบคอมพิวเตอร์ให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
2 เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ
คำสำคัญ
production process validation, analytical method validation, computerized systems validation