การประชุมวิชาการ“DM & Tobacco Control” ภายใต้โครงการจัดประชุมวิชาการ “NCD & Tobacco Control: Let’s make It happen”
ชื่อการประชุม |
 |
การประชุมวิชาการ“DM & Tobacco Control” ภายใต้โครงการจัดประชุมวิชาการ “NCD & Tobacco Control: Let’s make It happen” |
สถาบันหลัก |
 |
มูลนิธิเภสัชกรรมชุมชน |
รหัสกิจกรรม |
 |
5004-2-000-003-05-2565 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
ห้องประชุมสยามมกุฎราชกุมาร ชั้น P3 อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ |
วันที่จัดการประชุม |
 |
11 พ.ค. 2565 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
มูลนิธิเภสัชกรรมชุมชน |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
สมาชิกผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน , วิทยากรโรคเบาหวาน , ผู้สนใจเรื่องการให้คำปรึกษาเพื่อการบำบัดภาวะติดนิโคติน จำนวนประมาณ 100 คน (ไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงท |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
3.25 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
การบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่หรือบุหรี่ไฟฟ้าที่กำลังเป็นที่นิยมในยุคปัจจุบันนับเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Disease-NCD) นับตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมาจวบจนถึงปัจจุบัน แม้เวลาผ่านไปถึง 13 ปีแล้วก็ตาม การบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบก็ยังคงครองความเป็นอันดับที่ 1 ของปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดในการก่อโรคเหล่านี้ ดังนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรวิชาชีพสุขภาพทุกสาขาต้องให้ความสำคัญและร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขปัญหาการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบของคนไทย
ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบให้ได้ผลดีนั้น ต้องมีการดำเนินการ 2 ประการควบคู่กันไปเสมอ ได้แก่ การป้องกันผู้สูบหน้าใหม่ ซึ่งมักต้องดำเนินการด้วยการรณรงค์ต่างๆ การใช้มาตรการด้านกฎหมายและสังคม และภาษี ในขณะที่การลดจำนวนผู้สูบเดิม ต้องอาศัยระบบสุขภาพและบุคลากรวิชาชีพสุขภาพของประเทศในการให้การบำบัดผู้ติดนิโคตินทั้งหลายให้ละขาดจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้โดยเร็วที่สุด
ในกระบวนการลดจำนวนผู้สูบเดิมนี้ กลุ่มเป้าหมายที่สำคัญที่อาจใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการดำเนินการได้อย่างง่ายดาย ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะกลุ่มโรค NCD ซึ่งมีจำนวนหลายล้านคนในประเทศไทย ในจำนวนนี้ ราวร้อยละ 20-30 ยังคงสูบบุหรี่อยู่อย่างต่อเนื่อง และไม่เคยได้รับการบำบัดอย่างเป็นระบบมาก่อนเลย ทั้งนี้ เนื่องจากอุปสรรคในกระบวนการพัฒนาหลายประการ อาทิ ขาดแคลนบุคลากรที่มีความชำนาญในการให้คำปรึกษาเพื่อการบำบัดภาวะติดนิโคติน ขาดความรู้ และขาดยาที่มีประสิทธิภาพในบัญชียาหลักแห่งชาติ ดังนั้น โครงการประชุมวิชาการ NCD & Tobacco Control: Let’s make It happen จึงนับเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้เป็นสะพานเชื่อมระหว่างผู้ป่วยด้วยโรค NCD เช่น โรคเบาหวาน กับระบบบริการที่ผู้ป่วยต้องเข้ารับบริการอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว โดยคาดหวังว่า ผู้ป่วยเหล่านี้จะเข้าถึงบริการเลิกยาสูบแบบง่ายๆและสามารถละเลิกจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบได้ดีขึ้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้บุคลากรวิชาชีพสุขภาพทุกสาขามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมยาสูบที่เชื่อมโยงกับ NCD
2. เพื่อเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แพทย์และบุคลากรที่ทำงานด้านการควบคุมยาสูบที่เชื่อมโยงกับ NCD ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญ
3. เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงในการพัฒนาต้นแบบบริการเลิกยาสูบกับบริการสำหรับผู้ป่วยโรคในกลุ่ม NCD
คำสำคัญ
การควบคุมยาสูบที่เชื่อมโยงกับ NCD
วิธีสมัครการประชุม
ผู้สนใจลงทะเบียนที่ Google Form https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSegpxk4W4IX_7o5sTp_G7Pi7o6RwLP0VPTLle1xOMe5T8FLiA/closedform
ผู้จัดการประชุมฯ จะส่งลิ้งค์การประชุมในระบบ Zoom ให้แก่ผู้สมัครก่อนวันประชุม 3-7 วัน