การประชุมวิชาการ
Deal with post COVID-19 syndrome: Cough
ชื่อการประชุม Deal with post COVID-19 syndrome: Cough
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2002-2-000-006-04-2565
สถานที่จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
วันที่จัดการประชุม 24 เม.ย. 2565
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย สมาชิกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน(ประเทศไทย) ประมาณ 400-600 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีการแพร่ระบาดไปทั่วประเทศไทย และกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ปัจจุบัน (ช่วงปลายเดือนมีนาคม 2565) แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย อยู่ในระดับที่สามารถควบคุมไว้ได้ในระดับหนึ่งแต่ก็ยังคงมีจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นจำนวนเป็นหลักหมื่น เพิ่มขึ้นในทุกๆ วัน การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ โอไมครอนนี้แม้จะมีรายงานว่าส่งผลกระทบให้เกิดความรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้า แต่ก็พบว่าสายพันธุ์ดังกล่าวทำให้เกิด กลุ่มอาการหลังการติดเชื้อหรือกลุ่มอาการที่เกิดแม้เชื้อหมดไปจากผู้ป่วยแล้วที่เรียกว่า Post COVID syndrome มากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ที่มีก่อนหน้า โดยอาการและอาการแสดงของ Post COVID syndrome สามารถเกิดได้ทุกๆ ระบบของร่างกายของผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อ โดยเฉพาะ อาการเหนื่อยล้า ปวดหัว ตาแดง ถ่ายเหลว รวมถึงอาการไอ และอาจพบได้ตั้งแต่ 4-12 สัปดาห์หลังผู้ป่วยตรวจไม่พบเชื้อแล้ว ในบางรายกลุ่มอาการดังกล่าวยังคงแสดงต่อเนื่องต่อไประยะยาวนานมากกว่า 12 สัปดาห์ ซึ่งสร้างความเจ็บป่วยและลดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่หายแล้วต่อเนื่องต่อไปอีกระยะยาว

เภสัชกรชุมชน(ร้านยา) ปัจจุบันเปิดบทบาททางวิชาชีพในเชิงรุกโดยเข้าร่วมเป็นหน่วยให้บริการของ สปสช. เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยขณะป่วยหรือติดเชื้อฯ ให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพและการใช้ยาขณะที่เจ็บป่วยติดเชื้อฯ แต่อย่างไรก็ตาม ตามที่ได้กล่าวมา หลังการติดเชื้อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ โอไมครอนและหายแล้ว ผู้ป่วยส่วนหนึ่ง มักจะเกิดอาการ Post COVID syndrome เภสัชกรชุมชนจึงควรมีบทบาทการดูแลผู้ป่วยช่วงที่ผู้ป่วยไม่มีการติดเชื้อแล้วให้ป็นไปอย่างต่อเนื่อง การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และการจัดการเกี่ยวกับ Post COVID syndrome โดยเฉพาะอาการไอ จะช่วยให้เภสัชกรชุมชนเกิดความรู้ความเข้าใจการจัดการได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม สามารถเป็นที่พึ่งด้านบริการด้านสุขภาพแก่ผู้ป่วยที่มี Post COVID syndrome ได้อย่างดีและเป็นที่พึ่งยามเจ็บป่วยของคนในชุมชนได้ในระยะยาวอย่างแท้จริง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เภสัชกรชุมชน (ร้านยา) มีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับอาการไอที่เป็นหนึ่งในอาการของ Post COVID-19 syndrome
2. เพื่อให้เภสัชกรชุมชน (ร้านยา) สามารถนำความรู้ไปจัดการวางแผนดูแลผู้ป่วยที่มีอาการไอ ที่เป็นหนึ่งใน Post COVID-19 syndrome ในร้านยาได้
คำสำคัญ
ไอ Post COVID-19 syndrome จัดการ
วิธีสมัครการประชุม
https://zoom.us/webinar/register/WN_orGyk55YT3WMWtUkMsMWsQ