การประชุมวิชาการ
โครงการ การเปลี่ยนแปลงพลิกโฉมดิจิทัลในงานเภสัชกรรม: พื้นฐานและการประยุกต์ใช้
ชื่อการประชุม โครงการ การเปลี่ยนแปลงพลิกโฉมดิจิทัลในงานเภสัชกรรม: พื้นฐานและการประยุกต์ใช้
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รหัสกิจกรรม 1006-2-000-014-06-2565
สถานที่จัดการประชุม ห้องอบรมออนไลน์ (Zoom) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม
วันที่จัดการประชุม 18 -19 ส.ค. 2565
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรและผู้สนใจทั่วไป จำนวน 70 คน ศิษย์เก่า และแหล่งฝึกปฎิบัติงานวิชาชีพของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 30 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 13 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันรัฐบาลให้ความสำคัญกับงานบริการเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากงานบริการปัจจัยสำคัญในการเติบโตทางเศรษฐกิจชุดใหม่ (New Engines of Growth) จนได้มีการทำยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 ทั้งนี้กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Health, Wellness & Bio-Med) เป็น 1 ใน 5 กลุ่มหลักของยุทธศาสตร์ชาติ ดังนั้นเภสัชกรนอกจากจะใช้องค์ความรู้ด้านเภสัชกรรมในการให้บริการประชาชนให้มีสุขภาพที่ดีด้วยการใช้ยาอย่างเหมาะสมและตามความจำเป็นแล้ว เภสัชกรยังควรต้องพัฒนาศักยภาพในด้านเทคโนโลยีต่างๆที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในทางเภสัชกรรมอีกด้วย ซึ่งทางภาควิชาสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีเพื่อส่งผลให้มีการพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรที่ทำงานประจำในที่ต่างๆ
ท่ามกลางวิกฤตโควิด วิกฤตกำลังคนในวิชาชีพเภสัชกรรม ภาระงานบริการและงานบริหาร นโยบายภาครัฐที่ให้ความสำคัญกับการลดความแออัดในโรงพยาบาล รวมไปถึงทิศทางหรือเข็มมุ่งทางด้านดิจิทัลและระบบอัตโนมัติ ทำให้เภสัชกรจำเป็นต้องพัฒนาทักษะและความรู้ในหลาย ๆ ด้านเพื่อตอบรับกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruption) หนึ่งในทักษะที่สำคัญและเป็นองค์ประกอบในการพัฒนาประเทศแบบ Thailand 4.0 คือ ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital literacy ซึ่งจากนิยามของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ให้ความหมายว่าเป็นทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แท็บเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นองค์ความรู้ด้านเภสัชกรรมดิจิทัล (Digital Pharmacy) จึงเป็นอีกหนึ่งคำตอบของวิชาชีพเภสัชกรรมในยุคปัจจุบันและยุควิถีชีวิตใหม่ (New Normal)
การประยุกต์ใช้เภสัชกรรมดิจิทัลในงานบริการ งานบริหาร หรืองานวิจัย วิชาการทางเภสัชกรรม มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง มากขึ้น และเป็นไปอย่างรวดเร็วจากวิกฤตโควิดที่มาช่วยเร่งขบวนการพัฒนาทางดิจิทัล รูปแบบของเภสัชกรรมดิจิทัลที่เป็นประโยชน์ในยุควิถีชีวิตใหม่ เช่น เภสัชกรรมทางไกล (Telepharmacy) การบริหารจัดการด้วยระบบบาร์โคด (Barcode Management) การจัดการองค์ความรู้ทางเภสัชกรรม (Knowledge Management) ระบบจัดจ่ายยาอัตโนมัติ (Pharmacy Automation) หรือแม้กระทั่งรูปแบบเภสัชกรรมดิจิทัลพื้นฐาน ยกตัวอย่าง การใช้โปรแกรม Excel ในการจัดการข้อมูลทางเภสัชกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือการใช้เครื่องมือทางออนไลน์ในการจัดเก็บและบริหารข้อมูลทางเภสัชกรรมร่วมกัน เป็นต้น ทำให้เราตระหนักได้ว่า เภสัชกรรมดิจิทัลทั้งระดับพื้นฐานและระดับประยุกต์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเภสัชกรในยุควิถีชีวิตใหม่
วัตถุประสงค์
1.เข้าใจ และทราบถึงเภสัชกรรมดิจิทัลและการประยุกต์ใช้
2.มีแนวคิดในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้กับงานบริการสุขภาพ
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
คุณกัลยา อรวิเชียร โทรศัพท์ 08-9918-3921 การสมัครเข้าร่วมโครงการทางออนไลน์ได้ที่ https://www.pharm.su.ac.th หัวข้อ บริการวิชาการ