การประชุมวิชาการ
การวินิจฉัยภาวะตาแห้งในร้านขายยาชุมชน (Diagnosis of dry eye conditions in community pharmacy)
ชื่อการประชุม การวินิจฉัยภาวะตาแห้งในร้านขายยาชุมชน (Diagnosis of dry eye conditions in community pharmacy)
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2002-2-000-005-04-2565
สถานที่จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
วันที่จัดการประชุม 20 เม.ย. 2565
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย สมาชิกสมาคมฯ และเภสัชกรที่สนใจทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันกลุ่มคนในสังคมไทยมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เร่งรีบและเปลี่ยนไปจากเดิม ส่วนหนึ่งเกิดจากการพัฒนาของระบบเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยทำให้เกิดความสะดวกในการดำเนินชีวิตเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ที่เรามีการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น เนื่องจากการทำงานส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นรูปแบบออนไลน์ รวมไปถึงสื่อบันเทิงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นดูหนัง ดูทีวี การติดตามข่าวสารผ่านทางสื่อโซเชียล หรือการเล่นเกม ล้วนแต่ต้องดูผ่านหน้าจอทั้งสิ้น ซึ่งการจ้องมองหน้าจอเป็นเวลานาน ๆ สามารถทำให้เกิดโรคตาแห้งได้ เนื่องจากเวลาที่เราใช้สายตาเยอะ ๆ ร่างกายของเราจะมีการกะพริบตาน้อยลง โดยที่เราไม่รู้ตัว นอกจากนี้ภาวะโควิด-19 ยังทำให้เราต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยเป็นเวลานาน ซึ่งการสวมหน้ากากอนามัย ก็มีส่วนที่จะทำให้เกิดโรคตาแห้งได้ ทั้งนี้การใช้น้ำตาเทียม รวมทั้งการได้รับคำปรึกษาที่ดีจากบุคลากรทางการแพทย์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันปัญหาและรักษาอาการเหล่านี้ ทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดีขึ้น และหลีกเลี่ยงจากอาการดังกล่าวได้
ในการนี้ สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) ได้เล็งเห็นความสำคัญของการให้ความรู้ทางวิชาการที่ครอบคลุมและทันสมัยแก่เภสัชกร ทั้งนี้การให้ความรู้ดังกล่าวจะส่งผลให้เภสัชกรมีความรู้และความเข้าใจที่ดีขึ้นในการให้คำแนะนำที่ถูกต้อง สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยได้มากขึ้น รวมทั้งเภสัชกรที่เข้าร่วมอบรมจะให้คำปรึกษาด้วยความมั่นใจ และส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในกับเภสัชกร ทราบถึงปัจจัยและสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดอาการตาแห้งที่พบมากขึ้นในยุคดิจิทัลและภาวะ COVID-19 outbreak ที่เพิ่มอัตราการทำกิจกรรมผ่านอุปกรณ์หน้าจอ (VDT-Visual Display Terminals) มากขึ้นได้
2. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับเภสัชกร สามารถซักประวัติและวินิจฉัยโรคตาแห้งในบทบาทของเภสัชกรรมปฐมภูมิ (Primary care) เพื่อช่วยลดความแออัดของผู้ป่วยในโรงพยาบาลได้
3. เพื่อเพิ่มทักษะในการให้คำแนะนำการจ่ายยา เพื่อรักษาโรคตาแห้งได้อย่างเหมาะสม
4. เภสัชกรสามารถให้คำแนะนำ วิธีการป้องกันและดูแลตนเองเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคตาแห้งในชีวิตประจำวันได้
คำสำคัญ
Dry eyes disease, artificial tears, screening of dry eyes
วิธีสมัครการประชุม
www.pharcpa.com