การประชุมวิชาการ
การอบรมเรื่อง Systematic review and meta-analysis for evidence based herbal products
ชื่อการประชุม การอบรมเรื่อง Systematic review and meta-analysis for evidence based herbal products
สถาบันหลัก วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
รหัสกิจกรรม 1012-2-000-006-03-2565
สถานที่จัดการประชุม Online Seminar
วันที่จัดการประชุม 31 มี.ค. 2565
ผู้จัดการประชุม วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
กลุ่มเป้าหมาย คณาจารย์ บุคลากร นักวิจัย เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์วิชาชีพอื่น ๆ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันประเทศไทยมีพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพรปี พ.ศ. 2562 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีประสิทธิผลดี ปลอดภัย และมีคุณภาพ ส่งผลกระตุ้นให้มีการวิจัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างกว้างขวาง เพื่อใช้เป็นข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร
โดยทั่วไปการวิจัยเพื่อประเมินประสิทธิผล และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สมุนไพรจะเป็นการวิจัยทางคลินิกในมนุษย์ อย่างไรก็ตามสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรหนึ่ง ๆ งานวิจัยทางคลินิกที่มีวิธีการวิจัยแตกต่างกันย่อมทำให้ผลลัพธ์ และคุณภาพของงานวิจัยที่ออกมาแตกต่างกัน จึงเป็นการยากที่จะหาข้อสรุปในเบื้องต้นว่าผลิตภัณฑ์สมุนไพรนั้นมีประสิทธิผล และความปลอดภัยเพียงใด การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systematic review) และการวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) เป็นวิธีการที่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ จึงทำให้ได้ข้อสรุปเบื้องต้นถึงประสิทธิผล และความปลอดภัยในการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เกิดเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพสำหรับสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรต่อไป
มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งบ่มเพาะความรู้ ไม่จำกัดเฉพาะกับนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย แต่รวมถึงประชาชนผู้มีความสนใจอีกด้วย ในการนี้ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ อันได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยพะเยา และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มาถ่ายทอดหลักการ แนวคิด และวิธีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ และการวิเคราะห์อภิมานเพื่อประเมินประสิทธิผล และความปลอดภัยในการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้เข้าร่วมอบรม รวมไปถึงหน่วยงาน และชุมชนที่ผู้เข้าร่วมอบรมมีส่วนเกี่ยวข้องต่อไป

วัตถุประสงค์
1 เพื่อให้ความรู้เรื่องการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ และการวิเคราะห์อภิมานในงานวิจัยทางคลินิกของผลิตภัณฑ์สมุนไพร
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีพื้นฐานในการประเมินประสิทธิผล และความปลอดภัยในการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากการอ่านงานวิจัย
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ฝึกปฏิบัติการเบื้องต้นในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ และการวิเคราะห์อภิมานในงานวิจัยทางคลินิกของผลิตภัณฑ์สมุนไพร
4 เพื่อเสริมสร้างให้เกิดเครือข่ายวิจัย และชุมชนการศึกษาเรียนรู้โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นสื่อกลาง
5 เป็นหนึ่งในกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง (Continuing Pharmaceutical Education, CPE) เพื่อการพัฒนาตนเองของเภสัชกรที่สนใจเข้าร่วมประชุม
คำสำคัญ
training course, evidence based, herbal products, systematic review, meta-analysis
วิธีสมัครการประชุม
https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSeBC7oQ7MfZu2hBHdRvoh7ULB1qysxHb-rBC7PMHCwUE2jE9w/viewform https://www.facebook.com/rangsitpharmacy/photos/pcb.2494249434038999/2494249404039002