การประชุมวิชาการ
Understanding the link between COPD and lung cancer – Advantage of early detection
ชื่อการประชุม Understanding the link between COPD and lung cancer – Advantage of early detection
สถาบันหลัก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
รหัสกิจกรรม 3001-2-000-014-08-2565
สถานที่จัดการประชุม ห้องประชุมชั้น 6 อาคาร 4 ตึกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
วันที่จัดการประชุม 23 พ.ย. 2565
ผู้จัดการประชุม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease) เป็นโรคที่มีความสำคัญและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับ 4 ของการเสียชีวิตของประชากรโลก การเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน (acute exacerbation) มีผลต่ออัตราการเสียชีวิต การเสื่อมถอยของสมรรถภาพปอด ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและทุพพลภาพในระยะยาว ดังนั้นการทราบถึงปัจจัยเสี่ยงต่อโรค การวินิจฉัยที่ถูกต้อง การเริ่มการรักษาและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม เทคนิคการใช้ยาสูดอย่างถูกวิธี การป้องกันและรักษาการกำเริบเฉียบพลันของโรค จึงมีความสำคัญสำหรับแพทย์ และบุคลากรทางแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยโรคนี้
ลักษณะสำคัญของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คือ หลอดลม เนื้อปอด และหลอดเลือดปอดเกิดการอักเสบเสียหายเนื่องจากได้รับแก๊สหรือสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองเป็นเวลานาน ส่งผลให้หลอดลมค่อยๆ ตีบแคบลงหรือถูกอุดกั้นโดยไม่อาจฟื้นคืนสู่สภาพปกติได้อีก โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) เป็นโรคที่มีลักษณะคือ มีการจำกัดของทางเดินหายใจ (airway limitation) อย่างถาวร ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างในปอด (structural changes) และทำให้ทางเดินหายใจเล็กลง ซึ่งการจำกัดของทางเดินหายใจนี้จะเกิดมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาการแสดงเหล่านี้ใกล้เคียงกับอาการของโรคถุงลมโป่งพองและโรคมะเร็งปอด
โรคทางเดินหายใจอุดกั้นเหล่านี้จึงเป็นโรคเรื้อรังที่บั่นทอนสุขภาพผู้ป่วย เช่น การขาดงาน สูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของครอบครัวและของประเทศเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก เนื่องจากเรามีองค์ความรู้และแนวทางการวินิจฉัยตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกที่พัฒนามากขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถรับการรักษาที่เหมาะสม และลดความรุนแรงในการดำเนินไปของโรค ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้จึงมีความพยายามที่จะจัดทำมาตรฐานและแนวทางในการวินิจฉัยและการรักษาขึ้นทั่วโลก เช่น The Global Initiative for Obstructive Lung Disease (GOLD) จากองค์การอนามัยโลก และด้วยความร่วมมือกันของคณะทำงานใน สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ได้จัดทำแนวทางการวินิจฉัย และรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ฉบับใหม่ “Thai COPD Guideline for Adults 2022” เพื่อเป็นแนวทางช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาในระดับสากลและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งนี้ด้วยความร่วมมือจากสมาคม ราชวิทยาลัย และหน่วยงานต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ร่วมมือกันเพื่อปรับปรุงมาตรฐานการรักษาให้เหมาะสมกับการรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในประเทศไทย เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้นและช่วยลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้องมานอนที่โรงพยาบาลให้ได้มากขึ้น
นอกจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยแล้ว โรคมะเร็งปอดก็เป็นอีกปัญหาสาธารณสุขที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับมะเร็งชนิดอื่นๆในประเทศไทศ จากข้อมูลล่าสุดในปี 2018 ประมาณการณ์ว่า ในแต่ละปีมีผู้ป่วยมะเร็งปอดใหม่ 2.1 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตถึง 1.7 ล้านคนทั่วโลก ในประเทศไทยมีผู้ป่วยใหม่ประมาณปีละ 24,000 คน ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอดนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือปัจจัยเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ เช่น การสูบบุหรี่หรือควันจากบุหรี่ ควันจากการเผาไหม้ มลภาวะทางอากาศ
หรือ PM 2.5 และปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ความเสี่ยงที่เกิดจากอายุ หรือพันธุกรรม ดังนั้นการตระหนักและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญเหล่านี้ ก็สามารถการลดความเสี่ยง รวมถึงเฝ้าระวังให้ปลอดภัยจากโรคมะเร็งปอดมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามโรคมะเร็งปอดในระยะแรกเริ่มนั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่ค่อยแสดงอาการ การตรวจพบโรคจึงมักถูกตรวจพบในระยะที่ 4 ซึ่งหมายถึงระยะโรคลุกลาม แพร่กระจาย หรือระยะสุดท้าย ส่งผลทำให้การรักษาได้ผลไม่เป็นที่น่าพอใจ มีโอกาสรักษาหายจากโรคน้อยมากทำให้มีอัตราการเสียชีวิตสูง ดังนั้นการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอดตั้งแต่ระยะแรกเริ่มจึงเป็นสิ่งสำคัญอีกส่วนหนึ่ง เพราะจะทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการรักษาเร็วขึ้น
อย่างไรก็ตามโรคมะเร็งปอดในระยะแรกเริ่มนั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่ค่อยแสดงอาการ การตรวจพบโรคจึงมักถูกตรวจพบในระยะที่ 4 ซึ่งหมายถึงระยะโรคลุกลาม แพร่กระจาย หรือระยะสุดท้าย ส่งผลทำให้การรักษาได้ผลไม่เป็นที่น่าพอใจ มีโอกาสรักษาหายจากโรคน้อยมากทำให้มีอัตราการเสียชีวิตสูง ดังนั้นการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอดตั้งแต่ระยะแรกเริ่มจึงเป็นสิ่งสำคัญอีกส่วนหนึ่ง เพราะจะทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการรักษาเร็วขึ้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และสร้างความตระหนักเรื่องโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคมะเร็งปอด การตรวจคัดกรองโรคในระยะแรกเรมิ่ และการแบ่งประเภทตามระดับความรุนแรงของโรค และแนวทางการรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคมะเร็งปอด
2. เพื่อสามารถประยุกต์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในงานประจำ
คำสำคัญ
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคมะเร็งปอด (Lung cancer) การตรวจคัดกรองโรคในระยะแรก (Early screening), อาการกำเริบเฉียบพลัน (Exacerbation)