ชื่อการประชุม |
 |
(online) The Principle of Biosimilar: Characterization Matters |
สถาบันหลัก |
 |
สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย) |
รหัสกิจกรรม |
 |
2004-2-000-006-03-2565 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
ZOOM application |
วันที่จัดการประชุม |
 |
30 มี.ค. 2565 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย) |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
บุคลากรที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานใน ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฝ่ายควบคุมคุณภาพ หรือผู้เกี่ยวข้องในการจัดซื้อ จัดหาผลิตภัณฑ์ที่ใช้การการตรวจสอบคุณลักษณะของยาต้นแบบ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
2 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
ไบโอซิมิลาร์หรือยาชีววัตถุคล้ายคลึง (biosimilar) คือชีวเภสัชภัณฑ์ (biopharmaceutical) ที่ผลิตเลียนแบบยาต้นแบบ (innovator product) โดยไบโอซิมิลาร์จะต้องทำการศึกษาเปรียบเทียบกับยาต้นแบบหรือยาชีววัตถุอ้างอิง (reference product) เพื่อพิสูจน์ว่ายามีคุณลักษณะที่คล้ายคลึงกับยาต้นแบบทั้งด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพ ดังนั้นขั้นตอนที่สำคัญมากในช่วงเริ่มต้นของการวิจัยและพัฒนาไบโอซิมิลาร์คือการตรวจสอบคุณลักษณะของยาต้นแบบ (characterization) ว่ายามีคุณสมบัติทางเคมีกายภาพ (physicochemical properties) รวมถึงฤทธิ์ทางชีวภาพ (biological activities) อย่างไร เพื่อที่จะได้เข้าใจคุณลักษณะที่สำคัญ (critical quality attributes; CQAs) ของยาต้นแบบ แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามากำหนดคุณลักษณะด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ (quality target product profile; QTPP) ที่อยากพัฒนา ขั้นตอนต่อมาคือการวางแผนวิจัย พัฒนา และออกแบบกระบวนการผลิตไบโอซิมิลาร์
เมื่อผลิตไบโอซิมิลาร์ได้แล้วก็ต้องทำการตรวจสอบคุณลักษณะของไบโอซิมิลาร์และทำการศึกษาเปรียบเทียบกับยาต้นแบบ (comparability exercise) โดยเริ่มจากด้านคุณภาพ (comparative quality studies) แล้วจึงทำการศึกษาด้านที่ไม่ใช่คลินิก (comparative non-clinical studies) และด้านคลินิก (comparative clinical studies) ตามลำดับ (stepwise approach) วิธีการ ขั้นตอน และกระบวนการตรวจสอบจึงเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาและนำเอาไบโอซิมิลาร์หรือยาชีววัตถุคล้ายคลึงไปใช้ประโยชน์
วัตถุประสงค์
• เพื่อเข้าใจแนวทางและหลักการของการพัฒนายาชีววัตถุคล้ายคลึง
• เพื่อเข้าใจความสำคัญของการศึกษาเปรียบเทียบยาชีววัตถุคล้ายคลึงกับยาต้นแบบหรือยาชีววัตถุอ้างอิง (reference product)
• เพื่อเข้าใจถึงหลักการและกระบวนการการตรวจสอบคุณลักษณะของยาต้นแบบ (characterization)
• เพื่อเรียนรู้วิธีการที่ใช้ในการกระบวนการการตรวจสอบคุณลักษณะของยาต้นแบบ (characterization)
คำสำคัญ
ยาชีววัตถุคล้ายคลึง, biosimilar, CQAs
วิธีสมัครการประชุม
สมัครออนไลน์ได้ที่ http://tipa.or.th/tipa/register/