ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเภสัชกรรม เรื่อง ภาษาอังกฤษแบบมืออาชีพในงานบริการด้านเภสัชกรรม (Professional English Communication in Pharmacy Service)
ชื่อการประชุม โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเภสัชกรรม เรื่อง ภาษาอังกฤษแบบมืออาชีพในงานบริการด้านเภสัชกรรม (Professional English Communication in Pharmacy Service)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 1005-2-000-016-04-2565
สถานที่จัดการประชุม ณ คณะเภสัขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
วันที่จัดการประชุม 21 -22 เม.ย. 2565
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน จำนวนจำกัดไม่เกิน 30 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 12 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ทักษะและความสามารถในการสื่อความกับผู้ป่วยชาวต่างประเทศที่มีพื้นฐานด้านวัฒนธรรมที่หลากหลายโดยการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง ถือได้ว่าสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิบัติงานด้านวิชาชีพเภสัชกรรมอย่างมีประสิทธิภาพในยุคที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสถานที่นิยมและหมายตาของคนทำงานในลักษณะ Digital Nomad หลังสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ซึ่งการที่ประเทศไทยมี Global COVID-19 Index (GCI) ในด้านการฟื้นตัวจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 อยู่ในอันดับต้น ๆ ในเอเชีย จึงถือเป็นโอกาสในการสร้างความได้เปรียบทางการตลาดด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ตามยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งกำลังมุ่งเป้าทำตลาดแบบเจาะจงกลุ่ม Health and Wellness โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการท่องเที่ยวร่วมกับการรักษา หรือ Medical Tourism สำหรับชาวต่างประเทศที่ต้องการเดินทางมาเยือน หรือย้ายถิ่นฐานมาพำนักในประเทศไทยหลังเกษียณอายุ
นอกจากนี้ในยุคที่แนวโน้มของ Aging society กำลังขยายประชากรทั่วโลก ประเทศไทยมีจุดแข็งในเรื่องความปลอดภัย ความมีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมและอาหาร ความสวยงามของธรรมชาติที่ได้รับการฟื้นฟู ความมีน้ำใจเอื้ออาทรของคนไทยในการต้อนรับดูแลเกื้อกูลแขกผู้มาเยือน อีกทั้งข้อได้เปรียบในเรื่องคุณภาพการบริการของโรงพยาบาล ความชำนาญการของบุคลากรทางการแพทย์ไทย รวมถึงค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในมาตรฐานระดับสากลที่ประหยัดกว่าหากเทียบกับสหรัฐอเมริกาประมาณ 40-75% หรือสิงคโปร์ประมาณ 30% จึงถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญของประเทศไทยในการแข่งขันสู่ Medical Hub ระดับโลก
ดังนั้น ในการก้าวสู่ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ทักษะและความสามารถในการสื่อความกับผู้รับบริการชาวต่างประเทศที่มีพื้นฐานด้านวัฒนธรรมที่หลากหลายโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง จึงถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติงานด้านวิชาชีพเภสัชกรรมอย่างมีประสิทธิภาพในยุคที่ต้องก้าวสู่โลกแห่งอนาคตตามวิถี New Normal การตระหนักรู้ถึงหัวใจของการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมในงานด้านเภสัชกรรมปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างถูกต้อง ตลอดจนการมีมารยาทสากลที่ดีในการติดต่อสื่อสารทั้งแบบ verbal และ non-verbal ในบริบทสากล เพื่อสร้างความประทับใจแก่ผู้ที่มารับบริการในโรงพยาบาลหรือร้านยา ก็จะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ขององค์กร และการพัฒนามาตรฐานการให้บริการทางเภสัชกรรมสู่ความเป็นสากลต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทราบหลักการ ตลอดจนมรรยาทสากลสำหรับการสื่อความกับผู้รับบริการชาวต่างประเทศที่มีพื้นฐานด้านวัฒนธรรมที่หลากหลาย โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อความกับผู้รับบริการชาวต่างประเทศที่มีพื้นฐานด้านวัฒนธรรมที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3. เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถพัฒนาอย่างเป็นระบบด้วยความมั่นใจต่อไป
คำสำคัญ
English Communication, Pharmacy Service
วิธีสมัครการประชุม
Online