การประชุมวิชาการ
การดูแลรักษาท้องผูกเรื้อรังอย่างไร...ให้ได้ผลดีและปลอดภัย
ชื่อการประชุม การดูแลรักษาท้องผูกเรื้อรังอย่างไร...ให้ได้ผลดีและปลอดภัย
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
รหัสกิจกรรม 1013-2-000-005-05-2565
สถานที่จัดการประชุม ออนไลน์
วันที่จัดการประชุม 07 พ.ค. 2565
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร บุคลากรทางการแพทย์ตลอดจนผู้ที่สนใจจำนวน 500 ท่าน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ท้องผูกเป็นอาการที่ลำไส้เคลื่อนไหวน้อยลงจนถ่ายอุจจาระลำบาก โดยทั่วไปอาการท้องผูกลำไส้จะเคลื่อนไหวน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ อาการจะคงอยู่เป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือนานกว่านั้น แม้ว่าอาการท้องผูกเป็นครั้งคราวจะพบได้บ่อยมาก แต่บางคนก็มีอาการท้องผูกเรื้อรังที่อาจขัดขวางการทำงานในชีวิตประจำวันของตนได้ ซึ่งอาการท้องผูกเรื้อรังอาจมีสาเหตุหนึ่งมาจากความเครียดที่มากเกินไปส่งผลให้ลำไส้เคลื่อนไหวลำบาก ปัญหาท้องผูกเรื้อรังเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย จากข้อมูลทางระบาดวิทยา พบอาการท้องผูกแตกต่างกันตามภูมิภาคตั้งแต่ร้อยละ 0.7 ถึงร้อยละ 79 จากข้อมูลในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าร้อยละ 16 ของประชากรมีปัญหาท้องผูก โดย 1 ใน 3 เกิดขึ้นในผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายประมาณ 1.5 เท่า ข้อมูลในประเทศไทยพบว่าประมาณร้อยละ 24 ของประซากรมีรายงานว่าตนเองมีอาการท้องผูก และจากข้อมูลการศึกษาในหลายประเทศในทวีปเอเชียพบว่ามีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในคลินิกโรคทางเดินอาหารร้อยละ 14.7 มีปัญหาท้องผูก

ทางคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เล็งเห็นว่าอาชีพเภสัชกรมีความจำเป็นต้องทราบเกณฑ์การวินิจฉัยและการแบ่งประเภทภาวะท้องผูกเรื้อรัง แนวทางการรักษาภาวะท้องผูกเรื้อรัง และประเภทของยาระบายเพื่อรักษาและบรรเทาอาการท้องผูกเรื้อรัง จึงประสงค์จะจัดงานประชุมวิชาการขึ้นในหัวข้อเรื่อง “การดูแลรักษาท้องผูกเรื้อรังอย่างไร...ให้ได้ผลดีและปลอดภัย” เพื่อให้เภสัชกรได้เพิ่มพูนความรู้และทักษะทางวิชาชีพเกี่ยวกับแนวทางการวินิจฉัยและการจัดแบ่งกลุ่มโรค ในผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกเรื้อรัง ตลอดจนแนวทางการจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเกณฑ์การวินิจฉัย การแบ่งประเภทภาวะท้องผูกเรื้อรัง และแนวทางการรักษาภาวะท้องผูกเรื้อรัง
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเลือกจ่ายประเภทของยาระบายเพื่อรักษาและบรรเทาอาการท้องผูกเรื้อรังให้แก่ผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม

คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
วิธีสมัคร ดาวน์โหลดและ register ผ่านแอปพลิเคชัน Medical Leaders Thailand หรือเว็ปไซต์ www.medical-leaders-thailand.com สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ LINE OA: @mltofficial หรือโทร 06-2374-3051 (คุณชนาภา: chanapa@asec-frontier.com)