การประชุมวิชาการ
โครงการอบรมความรู้ในการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ชื่อการประชุม โครงการอบรมความรู้ในการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-2-000-004-03-2565
สถานที่จัดการประชุม ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex
วันที่จัดการประชุม 10 -11 มี.ค. 2565
ผู้จัดการประชุม กลุ่มงานเภสัชกรรม สถาบันประสาทวิทยา
กลุ่มเป้าหมาย แพทย์ เภสัชกร พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 13.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย เป็นสาเหตุของการสูญเสียปีสุขภาวะ (Disability-adjusted Life Years: DALYS) อันดับ 2 ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย จากสถิติสาธารณสุข พ.ศ.2559 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราตายโรคหลอดเลือดสมอง เท่ากับ 48.7 ต่อแสนประชากร ซึ่งมากเป็นอันดับ 2 ของอัตราตายโรคเรื้อรัง (Chronic Disease) และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
การพัฒนาบริการโรคหลอดเลือดสมอง ทั้ง Stroke Unit (SU) และ Stroke Fast Track (SFT) รวมทั้งการให้ยาต้านเกล็ดเลือดใน 48 ชั่วโมงล้วนเป็นการรักษามาตรฐานของการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง แต่การที่จะให้มีมาตรฐานข้างต้นในโรงพยาบาลขนาด A, S, M1 ในทุกเขต จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกสาขา ให้มีความรู้ ความเข้าใจในการให้บริการข้างต้น จากข้อมูลของสถาบันประสาทวิทยา ในปี 2564 พบว่า ร้อยละอัตราตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (I60-I69) ร้อยละ 8.34 มีจำนวนโรงพยาบาล ในเขตสุขภาพที่ 1-12 ในระดับ A ที่สามารถจัดตั้งหออภิบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke unit) ร้อยละ 100 และโรงพยาบาลระดับ S ที่สามารถจัดตั้งหออภิบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke unit) ร้อยละ 89.80
สถาบันประสาทวิทยาในฐานะสถาบันชั้นนำด้านระบบประสาทในระดับตติยภูมิและสูงกว่าตติยภูมิ มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านวิชาการและบริการ และได้มีเครือข่ายบริการโรคหลอดเลือดสมองทั่วประเทศ โดยได้ดำเนินการจัดตั้งหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตามมาตรฐาน เพื่อพัฒนาการบริการ และเป็นต้นแบบแก่หน่วยงานเครือข่าย โดยมุ่งหวังให้หน่วยงานเครือข่ายสามารถจัดตั้งหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ตามความเหมาะสมของหน่วยงานในแต่ละระดับ สามารถลดการเสียชีวิตและความพิการในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ลดภาระทางเศรษฐกิจและสังคม ในการดูแลรักษาและฟื้นฟูผู้พิการ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน
สถาบันประสาทวิทยา จึงจัดทำโครงการพัฒนาบริการโรคหลอดเลือดสมองเพื่อลดอัตราตายของผู้สูงอายุขึ้น เพื่อให้โรงพยาบาลเครือข่ายสามารถพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและสามารถจัดตั้งหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างมีมาตรฐาน และพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง มีเครือข่ายสถานพยาบาลด้านโรคหลอดเลือดสมองที่มีคุณภาพ
วัตถุประสงค์
1) เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลระดับต่างๆ ทั่วประเทศ ให้มีความพร้อมในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
2) เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง สร้างความตระหนักรู้ และเตือนภัยสุขภาพแก่ประชาชนทั่วประเทศ
3) เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานพยาบาลด้านโรคหลอดเลือดสมอง และพัฒนาศักยภาพให้สามารถจัดตั้งหออภิบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke unit) รวมทั้งสามารถยก
ระดับการบริการเป็นศูนย์โรคหลอดเลือดสมองมาตรฐานมาตรฐาน กระทรวงสาธารณสุข (Standard Stroke Center Certification: SSCC) ได้ตามมาตรฐาน
4) เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้สามารถเทียบเคียงตัวชี้วัดในระดับประเทศ
5) เพื่อพัฒนาศักยภาพประสาทศัลยแพทย์ และร่วมวางแผนการดำเนินงานพัฒนาระบบบริการด้านการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic Stroke) ตามแผนการพัฒนาระบบ
บริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง : โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) โดยเฉพาะสาเหตุจากเส้นเลือดสมองแตก
6) เพื่อลดอัตราตายและความพิการในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ลดภาระด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมวิชาการได้ที่ https://forms.gle/xKSpT7PGNN2LANiu8